การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตามหลัก สาราณียธรรมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

นาฏณวรรษ์ ปาณะวิชญ์นันท์
สุกัญญาณัฏฐ อบสิน
พิทยา สุนทรประเวศ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตามหลักสาราณียธรรมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการแจกแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น .981 กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 397 คน โดยใช้สูตรของ Taro Yamane สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ได้แบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 20 คน/รูป ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ควรทำให้ประชาชนมีทัศนคติที่ดีต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ให้ความรู้ ให้คำแนะนำถึงประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก (สาธารโภคี) มีการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ (เมตตาวจีกรรม) เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนปลูกฝังให้มีจิตสำนึกรักตนเอง รักครอบครัว รักชุมชน (เมตตามโนกรรม) 2) ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสนับสนุนช่วยเหลือในการป้องกันและควบคุมโรคโรคไข้เลือดออก (เมตตากายกรรม) ให้ความรู้แก่ประชาชนเห็นถึงอันตรายจากโรคไข้เลือดออก (เมตตาวจีกรรม) ให้ความรู้เกี่ยวกับการแพร่ระบาด (สาธารณโภคี) มีการประชาสัมพันธ์หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน (เมตตาวจีกรรม) มีการจัดรณรงค์การกำจัดลูกน้ำยุงลาย 3) ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ควรมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่(เมตตาวจีกรรม) มีการแจ้งยอดผู้ป่วยจากโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านให้ประชาชนทราบเป็นรายเดือน (ทิฏฐิสามัญญตา) ควรมีการประชุมประจำเดือนเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก (สีลสามัญญตา) 4) ด้านการมีส่วนร่วมในประเมินผล ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการติดตาม ตรวจสอบข้อมูล มีการสรุปรายงานโรคไข้เลือดออกไปยังหมู่บ้าน ชุมชน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนเพื่อหาแนวทางในการป้องกันและควบคุมโรค (สีลสามัญญตา)

Article Details

How to Cite
ปาณะวิชญ์นันท์ น., อบสิน ส., & สุนทรประเวศ พ. . (2021). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตามหลัก สาราณียธรรมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 4(2), 167–176. https://doi.org/10.14456/jra.2021.40
บท
บทความวิจัย

References

ธัญพล ทองแช่ม. (2558). การมีส่วนร่วมของชุชนต่อการบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ ในเขตหมู่บ้านศาลาดิน ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปภาวดี ตุลาดิลก. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการน้ำในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ อำเภอเมือง ศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

ประพันธ์ วิชา. (2558). การบริหารจัดการน้ำ กรณีศึกษา อ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา.

รมย์รวินท์ กลิ่นศรีสุข. (2557). การมีส่วนร่วมของผู้ใช้น้ำในการบริหารจัดการน้ำชลประทาน กรณีศึกษาโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชัณสูตร จังหวัดสิงห์บุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักติดต่อนำโดยแมลง. (2556). โรคไข้เลือดออก. กรุงเทพฯ: กองควบคุมโรคติดต่อทั่วไป.

สำนักติดต่อนำโดยแมลง. (2562). โรคไข้เลือดออก. กรุงเทพฯ: กองควบคุมโรคติดต่อทั่วไป.