การส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลบึงปลาทู อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

พระวัชรพงศ์ มหาปญฺโญ
อมลวรรณ อบสิน
สมคิด พุ่มทุเรียน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์กับการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและคุณภาพชีวิตของประชาชน และ 2) นำเสนอแนวทางในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลบึงปลาทู อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ออกแบบการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการแจกแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.973 กับกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวน 366 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ได้จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 17 รูปหรือคน ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์กับการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและคุณภาพชีวิตของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลบึงปลาทู อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก Pearson Correlation (r) 0.778 และ 2) แนวทางในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลบึงปลาทู อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ควรดำเนินการดังนี้ 2.1) ส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง มีลานกีฬาชุมชน 2.2) ส่งเสริมให้ประชาชนพัฒนาตนเองให้มีจิตใจเข้มแข็ง หลีกเลี่ยงอบายมุขที่จะนำไปสู่ความเสื่อมเสียแก่ตนเองและครอบครัว 2.3) ส่งเสริมให้ประชาชนสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันในชุมชน ช่วยเหลือเกื้อกูล มีส่วนรวมในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในสังคมและมีจิตสำนึกสาธารณะ และ 2.4) ส่งเสริมให้ประชาชนไม่ทิ้งของเสียลงในแม่น้ำลำคลอง ไม่ตัดไม้ทำลายป่า มีส่วนร่วมในการป้องกันน้ำเน่าเสีย และร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่น

Article Details

How to Cite
พระวัรชพงศ์ มหาปญฺโญ, อบสิน อ. ., & พุ่มทุเรียน ส. . (2021). การส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลบึงปลาทู อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 4(4), 15–24. https://doi.org/10.14456/jra.2021.79
บท
บทความวิจัย

References

จรูญเกียรติ พงศ์กุลศร สารัช วิเศษหลง และโสภา ชัยพัฒน์. (2561). การพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยใช้หลักการพึ่งตนเองตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาบ้านภู่ หมู่ 5 ตำบลวัดธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 3 นวัตกรรมทีพลิกโฉมสังคมโลก (น. 149-157). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี.

ทิวเมฆ นาวาบุญนิยม. (2558). การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนปฐมอโศก จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 2(1), 27-44.

บุญมี ภุทโมกข์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับคุณภาพชีวิตของประชาชนในอำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

ปรางทิพย์ ภักดีคีรีไพรวัลย์. (2559). การศึกษาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนบ้านแสนตอ หมู่ 11 ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). สรุปผลที่สำคัญการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน. กรุงเทพฯ: บริษัทเท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น จำกัด.

สุภาพร ภู่ไพบูลย์. (2558). การจัดการชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านโพธิ์ศรี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Yamana, T. (1967). Elementary Sampling Theory. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.