ประสิทธิผลการขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ตามแนวทาง 5ส ของวัดในอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

พระมหาพงศกร ฐิตญาโณ (มะลิลา)
พระครูนิวิฐศิลขันธ์
พระราชรัตนเวที

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักอปริหานิยธรรม 7 และการมีส่วนร่วมกับการขับเคลื่อนตามแนว 5ส และ 2) นำเสนอแนวทางในการพัฒนา ประสิทธิผลการขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ตามแนวทาง 5ส ในอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ออกแบบการวิจัยแบบผสานวิธีโดยการแจกแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น .963 กับกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง ออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้ พระภิกษุ 100 รูป ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ 100 คน และประชาชนทั่วไป 200 คน จากประชากร จำนวน 35,451 รูปหรือคน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 20 รูปหรือคน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอปริหานิยธรรมและหลักการมีส่วนร่วมกับหลักทฤษฎี 5ส ในการขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ตามแนวทาง 5ส ในอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมาก (Pearson Correlation (r) = 0.912**) และ 2) แนวทางในการพัฒนา ประสิทธิผลการขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขตามแนวทาง 5ส ในอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ควรดำเนินงานดังนี้ 1) ด้านสะสาง ควรมีการขจัดส่วนเกิน และ เพิ่มเติมส่วนที่ขาดเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งาน 2) ด้านสะดวก ควรมีการจัดวางให้ง่ายต่อการค้นหา และการนำไปใช้งานเพื่อความปลอดภัยต่อการปฏิบัติงาน 3) ด้านสะอาด ควรมีการกำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่ 4) ด้านการสร้างมาตรฐาน ควรมีการกำหนดมาตรฐานให้เป็นลายลักษณ์อักษร มีการฝึกอบรม ติดตามประเมินผลแล้วปรับปรุงมาตรฐานให้ดียิ่งขึ้น และ 5) ด้านสร้างวินัย ควรมีการรณรงค์และประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง

Article Details

How to Cite
พระมหาพงศกร ฐิตญาโณ (มะลิลา), พระครูนิวิฐศิลขันธ์, & พระราชรัตนเวที. (2021). ประสิทธิผลการขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ตามแนวทาง 5ส ของวัดในอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 4(4), 1–14. https://doi.org/10.14456/jra.2021.78
บท
บทความวิจัย

References

ชัชวาล รวยล้ำเลิศ. (2553). แนวทางการพัฒนาตามหลัก 5ส. ของหมู่บ้านผากะเจ้ ตำบลพบพระ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การบริหารและการพัฒนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ประทีป พืชทองหลาง (2562). วัดงาม นามมงคล: แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของวัดนามมงคล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 7(1), 212-242.

พระคำรณ อติภทฺโท (ทองน้อย) พระครูนิวิฐศีลขันธ์. (2563). การบริหารจัดการเชิงเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข่า ตามหลักอปริหานิยธรรมในเขตเทศบาลตำบลทุ่งน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร. วารสารวิจยวิชาการ, 3(2), 27-40.

พระเมธีธรรมาจารย์ และพระมหาสุทิตย์ อาภากโร. Eco-town: การพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม เชิงนิเวศวิทยา พระพุทธศาสนาของวัดในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 18(2), 245-254.

พระวิศิษฐ์ ปญฺญาธโร (ปานจันทร์). (2559). ประสิทธิผลการดำเนินงานตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมบูน จันกองมี. (2561). การศึกษากระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อมของวัดเขาวง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมุห์ธนกฤต ขนฺติพโล (สมบูรณ์). (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: กรณีศึกษาเขื่อนวชิราลงกรณ์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุธีรัตนบัณฑิต (สุทิตย์ อาภากโร) และพระมหาชุติภัค อภินนฺโท. (2562). แผนยุทธศาสตร์และแนวทางปฏิบัติโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข พ.ศ.2561-2565. นนทบุรี: นิติธรรมการพิมพ์.

สริญญา จีนประชา. (2560). ทัศนคติ แรงจูงใจ การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินกิจกรรม 5ส ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. (งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร). วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สันติภาพ รอดสถิต. (2554). แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชนเมืองโดยใช้ความร่วมมือระหว่างบ้าน วัด และโรงเรียน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 11(4), 542-555.

สุพิศ แพงสี. (2560). แนวทางการพัฒนากิจกรรม 5ส ของบริษัท NEIS ประเทศไทย จำกัด จังหวัดชลบุรี. (งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร). วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อรอำไพ สามขุนทด. (2560). แนวทางการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปฏิบัติธรรม. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.