การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่ส่งเสริมการคิดเชิงระบบของนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการเรียนการสอนแบบผสมผสาน และ 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่ส่งเสริมการคิดเชิงระบบของนักศึกษามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองและในการสังเคราะห์องค์ประกอบของการเรียนการสอนแบบผสมผสานตรวจสอบความเหมาสม โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม มาตรส่วนประเมินค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการสังเคราะห์องค์ประกอบของการเรียนการสอนแบบผสมผสาน คือ การจัดการเรียนการสอนแบบในชั้นเรียนและการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ และการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม มาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบที่สำคัญของรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการและเหตุผลของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการเรียนการสอนแบ่งเป็น จัดกการแบบในชั้นเรียนและแบบออนไลน์ 5) บทบาทผู้สอนแบบในชั้นเรียนและบทบาทผู้เรียนแบบออนไลน์ 7) วัดและประเมินผล 8) สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และ แผนการจัดการเรียนรู้ มี 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นที่ 1 ขั้นกระตุ้นให้เกิดปัญหา 2) ขั้นที่ 2 ขั้นค้นหาความรู้ 3) ขั้นที่ 3 ขั้นพัฒนาปัญญา 4) ขั้นที่ 4 นำเสนอและสรุป 5) ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผลงาน 6) ขั้นที่ 6 ขั้นการประยุกต์ใช้ความรู้ ผลการวิจัยพบว่าการตรวจสอบความเหมาะสมของ ของรูปแบบการเรียนการสอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.49) (S.D = 0.568) และผลการตรวจสอบความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.62) (S.D = 0.559)
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
จิรนันท์ ชาติชัยนานนท์. (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงระบบของนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(1), 214-227
ธีระศาสตร์ อายุเจริญ. (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้เป็นทีมตามแนวคิดชุมชนนักปฏิบัติโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมความใฝ่รู้ของนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. (2564). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตเพชรบูรณ์ พุทธศักราช 2561-2565 (ฉบับทบทวน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (อัดสำเนา).
ยศระวี วายทองคำ. (2558). รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบนำตนเองบนเว็บ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุพัตรา ชาติบัญชาชัย. (2548). กระบวนการเรียนรู้: แนวคิดความหมายและบทเรียนในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: พิสิษฐไทย ออฟเซต.
เสมอการญจน์ โสภณหิรัญรักษ์. (2557). ปัจจัยในการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานและกระบวนการเรียนรู้แก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา) คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หาญศึก เล็บครุฑและคณะ. (2553). แนวคิดการใช้สารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้เกิดกระบวนการคิด. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 21(1), 1-9.
Thorne, S. L. (2003). Artifacts and Cultures-of-Use in Intercultural Communication. Language Learning & Technology, 7(2): 38-67.