แนวทางการบริหารโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2

Main Article Content

ศิรินทร์ทิพย์ วรรณภักตร์
สาธร ทรัพย์รวงทอง
ปพนสรรค์ โพธิพิทักษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการบริหารโรงเรียนประชารัฐ และ 2) หาแนวทางการบริหารโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการแจกแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น .97 กับประชากร คือ โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนประชารัฐในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ทั้งหมดโดยวิธีเจาะจง จำนวนทั้งสิ้น จำนวน 189 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมประชุม จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกชนิดคำถามปลายเปิดใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาการบริหารโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหาสูงสุด คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ และ 2) แนวทางการบริหารโรงเรียนประชารัฐ ด้านการบริหารงานวิชาการ ส่งเสริมการวางแผนและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผ่านกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้านการบริหารงานบุคคล ส่งเสริมให้บุคลากรจัดทำแผนการพัฒนารายบุคคลของครู ด้านการบริหารงานทั่วไป สถานศึกษารวบรวมข้อมูลและจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบ ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม ส่งเสริมให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนในทุกด้าน ด้านการบริหารงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษา สถานศึกษาร่วมกับชุมชนเพื่อจัดหางบประมาณในการผลิตสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน และรายงานผลให้ทุกฝ่ายรับทราบ ด้านการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชน เปิดโอกาสให้ชุมชนและโรงเรียนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมต่างๆ และประชาสัมพันธ์ข้อมูลการดำเนินงานและด้านการบริหารความเสี่ยง ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาความเสี่ยงและเผยแพร่นวัตกรรมของโรงเรียนที่มีวิธีการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ

Article Details

How to Cite
วรรณภักตร์ ศ. ., ทรัพย์รวงทอง ส. ., & โพธิพิทักษ์ ป. . (2021). แนวทางการบริหารโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วารสารวิจยวิชาการ, 4(4), 205–220. https://doi.org/10.14456/jra.2021.94
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2553 (ฉบับที่ 3). กรุงเทพฯ: บริษัท สยามสปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.

กฤตภัทร อรุณดี. (2561). แนวทางการดำเนินงานตามตัวชี้วัดโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(2), 1284-1301.

ฐิติมาภรณ์ นาคเจือ. (2558). การเข้าร่วมการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนอนุบาลวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. (งานนิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปวีณา กันถิน. (2560). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประชารัฐ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(3), 1833-1848.

ภูสุดา ภู่เงิน. (2560). สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดสานพลังประชารัฐในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 13(1), 90-102.

ยงศักดิ์ ก้างยาง. (2560). แนวทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าร่วมโครงการโรงเรียนประชารัฐของโรงเรียนโยนกวิทยา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

วานิตย์ สิมงาม. (2561). ยุทธศาสตร์ที่ส่งผลต่อการนำนโยบายโรงเรียนประชารัฐสู่การปฏิบัติของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

วิจิตร ว่องวิการณ์. (2557). แนวทางการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

วิมล ศรีขาว. (2560). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประชารัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สาวิตรี แสงสุก. (2563). กระบวนการขับเคลื่อนโรงเรียนประชารัฐสู่ความเป็นเลิศ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(1), 226-239.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. (2562). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2562. (อัดสำเนา).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). เอกสารการประชุมสานต่อโครงการสานพลังประชารัฐด้านการศึกษาพื้นฐาน พร้อมต่อยอดจัดตั้ง “มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี”. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc. go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2560). เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการชี้แจงแนวทางการดำเนินการโรงเรียนประชารัฐ CONNEXT ED. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการคณะ รัฐมนตรี.

Amenu-Tekaa, Chrition E.K. (1988). Perceptions of Community Participationin Educationon CanadianIndian Peeress: A NorthCentral Alberta Case Study. Dissertation Abstracts International, 49(7), 1926-A.

Klipsch, J. M. (2011). What works in collaboration: a case study of a facilities partnership between a public school district and a nonprofit organization. (Dissertation of Doctor of Philosophy, Degree Program is Educational Policy and Leadership Studies). University of Iowa.