การศึกษาความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตามกฎหมายพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 ของบุคลากรส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

ชนัญฑิดา มูลชีพ
กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตามกฎหมายพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 ของบุคลากรส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย โดยการวิจัยเชิงปริมาณ จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 594 คน ตัวแปรต้นคือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ในการทำงาน ประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์/อินเทอร์เน็ต การใช้งานโทรศัพท์มือถือเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต และระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตต่อครั้ง ตัวแปรตาม ได้แก่ ความเข้าใจที่มีต่อกฎหมาย เจตคติหรือทัศนคติที่มีต่อกฎหมาย และการปฏิบัติตามกฎหมาย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบความเชื่อถือได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วยเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ระดับความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ระดับเจตคติอยู่ในระดับน้อย และระดับการปฏิบัติตนอยู่ในระดับน้อย  

Article Details

How to Cite
มูลชีพ ช., & วงษ์วัฒนพงษ์ ก. . (2021). การศึกษาความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตามกฎหมายพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 ของบุคลากรส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิจยวิชาการ, 4(4), 39–52. https://doi.org/10.14456/jra.2021.81
บท
บทความวิจัย

References

กิตติพงษ์ ภู่พัฒน์วิบูลย์. (2550). ทัศนคติและความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการ กระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ในการใช้คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ต กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศ). คณะบริหารธุรกิจ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นัดติกาญจน์ ทองบุญฤทธิ์. (2552). การรับรู้และความข้าใจต่อการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ของผู้ใช้บริการร้านอินเทอร์เน็ต ในอำเภอเมือง เชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์. (2554). สื่อสังคมออนไลน์: สื่อแห่งอนาคต. เข้าถึงได้จากhttps://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/oct_dec_11/pdf/aw016.pdf

“พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550”. (2550, 18 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอน 27 ก, หน้า 4–13.

“พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560”. (2560, 24 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอน 10 ก, หน้า 24–35.

ภัทราภรณ์ โรจนโรวรรณ. (2553). ทัศนคติ ความรู้ ความเข้าใจ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. (การศึกษาค้นคว้าการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ว่องวิช ขวัญพัทลุง. (2562). วัฒนธรรม“กลั่นแกล้ง”บนโลกออนไลน์ ความรับผิดทางกฎหมาย. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/647882.

ศิญานิลท์ ศักดิ์ดุลยธรรม. (2551). ความรู้ การประเมินผลกระทบและแนวโนมพฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวารสารสนเทศ). คณะนิเทศศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.