ภาวะผู้นำทางการเมืองเชิงพุทธเพื่อการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางการเมืองเชิงพุทธ เพื่อการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามหลักธรรมาภิบาล 6 ประการ กล่าวคือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า อันจะเป็นการเตรียมความพร้อม การปรับตัวในการบริหารประเทศ ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รับชั่น การตกต่ำของระบบเศรษฐกิจ และความขัดแย้งทางสังคม ซึ่งการมีภาวะผู้นำทางการเมืองนั้น ผู้บริหารประเทศ จะต้องเป็นผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม มีความรอบรู้ มีความสามารถ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความเสียสละ ไม่มีอคติ ปฏิบัติงานโดยยึดหลักกฎหมาย มุ่งพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และหลักธรรมาภิบาล เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ดังนั้น การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี จึงเป็นแนวทางสำคัญในการจัดระเบียบให้สังคม ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน ให้มีหลักการบริหารราชการแผ่นดินอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และมีความร่วมมือกันแห่งความสมานฉันท์ โดยการประยุกต์หลักสาราณียธรรม 6 ประการ ประกอบด้วย เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม สาธารณโภคี สีลสามัญญตา และทิฏฐิสามัญญตา ซึ่งเป็นหลักธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน เสริมสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น และเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความสามัคคีของคนในสังคม อันจะนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้า ความสุข ความสันติ และความมั่นคงของประเทศในที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
จิตติมา พักเพียง. (2558). รูปแบบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลเชิงพุทธขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในเขตภาคกลางตอนล่าง. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ไชย ณ พล อัครศุภเศรษฐ์. (2554). ระบบบริหารมาตรฐานพุทธ. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.
ณรงค์ สินสวัสดิ์. (2521). สังคมกับการปกครอง. กรุงเทพฯ: แพร่วิทยา.
พระครูภาวนาโสภิต (บุญรัตน์ เมืองวงศ์). (2553). การบริหารการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในล้านนา. ปทุมธานี: สาขาการบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2547). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
พิรัชย์ ศรีราม. (2557). ยุทธศาสตร์การพัฒนาธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
หอการค้าไทย. (2564). ธรรมาภิบาลในองค์กรภาครัฐและเอกชน. เข้าถึงได้จาก http://www. thaichamber.org/scripts/detail.asp?nNEWSID=1219.
Agere, S. (2000). Promoting Good Governance: Principles, Practices and Perspective. London: Commonwealth Secretariat.