พุทธจริยธรรมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Main Article Content

พระราชรัตนสุธี (ขวัญรัก เกษรบัว)
ณัฏยาณี บุญทองคำ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพุทธจริยธรรมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงาน เพราะเกิดปัญหาทางจริยธรรมการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า “ความหย่อนยานทางจริยธรรมของผู้นำ” โดยที่เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติงานเพื่อผลประโยชน์ของตนและพวกพ้อง ตลอดจนการอำนวยความสะดวกและการให้บริการประชาชนไม่มีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการสร้างระบบความรับผิดชอบของข้าราชการที่มีต่อตนเอง องค์กร ผู้บังคับบัญชา ประชาชน สังคม และเพื่อป้องกันการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ตลอดถึงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องตระหนักรู้ถึงความสำคัญในปัญหาการทุจริต และเล็งเห็นความสำคัญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในหน่วยงานของรัฐ ด้วยการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม โดยมุ่งเน้นที่ตัวบุคลากรในองค์กรที่จะส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กร จริยธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นเครื่องมือกำกับความประพฤติของข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่สร้างความโปร่งใส มีมาตรฐานในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและเป็นสากล ยึดถือเป็นหลักการและแนวทางปฏิบัติ ทั้งในระดับองค์กร ระดับบุคคล และเป็นเครื่องมือการตรวจสอบการทำงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามหลักคุณธรรม จริยธรรม มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ทำให้เกิดรูปแบบองค์กรอันเป็นที่ยอมรับ เพิ่มความน่าเชื่อถือ เกิดความมั่นใจแก่ผู้รับบริการและประชาชน ในการนี้ผู้บริหารได้มีการประยุกต์มัชฌิมาปฏิปทา ที่เป็นหลักการหรือแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ดี และเป็นเครื่องมือนำไปสู่จุดมุ่งหมายอันเป็นประโยชน์สูงสุด เป็นอุดมคติของชีวิต ครอบคลุมถึงเกณฑ์ตัดสินว่า การกระทำใดดีหรือไม่ดี ควรหรือไม่ควร และเพื่อการบริหารจัดการที่มีการส่งเสริมเรียนรู้ จัดกิจกรรมที่นำไปสู่การคิดและปฏิบัติตาม เพื่อเกิดการพัฒนาตนเองให้คิดเป็น ทำเป็น แก้ไขปัญหาเป็น จนนำไปสู่การพัฒนาองค์กร สังคม และประเทศชาติได้อย่างแท้จริง

Article Details

How to Cite
พระราชรัตนสุธี (ขวัญรัก เกษรบัว), & บุญทองคำ ณ. . (2022). พุทธจริยธรรมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 249–262. https://doi.org/10.14456/jra.2022.47
บท
บทความวิชาการ

References

ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2539). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: สมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประทาน คงฤทธิ์ศึกษากร. (2542). ทฤษฎีการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ประภาศรี สีหอำไพ. (2540). พื้นฐานการศึกษาทางศาสนาและจริยธรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปริญญา นาคฉัตรีย์. (2544). องค์การบริหารส่วนตำบล: การบริหารจัดการมิติใหม่สู่ความเป็นประชาธิปไตยฐานรากที่แท้จริง. กรุงเทพฯ: กรมการปกครอง.

พนัส หันนาคินทร์. (2523). การสอนค่านิยมและหลักจริยธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พฆเณศ.

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยตฺโต). (2536). แนวทางพัฒนาจริยธรรมไทย. กรุงเทพฯ: ธรรมดา.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2541). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2547). ธรรมนูญชีวิต พุทธจริยธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม. นครปฐม: ระฆังทอง.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2552). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรการเกษตรแห่งประเทศไทย.

พระราชวรมุนี (ป.อ.ประยุตฺโต). (2523). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิเชษฐ์ วงศ์เกียรติ์ขจร. (2552). แนวคิด ยุทธศาสตร์ การบริหาร การพัฒนา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก, หน้า 74-75.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2551). หลักรัฐประศาสนศาสตร์ แนวคิดและกระบวนการ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

อรทัย ก๊กผล. (2544). ลักษณะการปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.