การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะอย่างยั่งยืนของตลาดสดในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะตลาดสด ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะตลาดสด ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) นำเสนอแนวทางการจัดการขยะตลาดสด ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บและรวบรวมข้อมูลจากแม่ค้าในชุมชนตลาดสด จำนวน 200 แผง การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยการหาดัชนีความสอดคล้องด้วยเทคนิค IOC มีค่าเท่ากับ 0.75 ค่าความเชื่อถือของแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น โดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของ Cronbach ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เปรียบเทียบด้วยค่า t-test และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ใช้ One- way ANOVA หรือ F-test ผลการวิจัย พบว่า 1) การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในชุมชนตลาดสดในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (μ= 2.50) ระดับการมีส่วนร่วมมากที่สุดคือการมีส่วนร่วมในการวางแผน (μ = 2.72) ส่วนข้อที่มีระดับการมีส่วนร่วมน้อยที่สุดคือการมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย (μ = 2.28) 2) การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการแบบยั่งยืนในชุมชนตลาดสด พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส รายได้ต่อเดือนและระดับการศึกษาที่ต่างกันมีส่วนร่วมในการจัดการตลาดขยะสดไม่ต่างกันที่ระดับนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และ 3) แนวทางการจัดการขยะชุมชนตลาดสดนั้นควรมีการพัฒนาเทคโนโลยีในการจัดการขยะให้มีความเหมาะสมกับข้อจำกัดทางด้านพื้นที่ของตลาด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
ทรงธิศักดิ์ ทิพย์คา. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะ ตำบลบ้านสาง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยพะเยา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย. (2563). รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปีพ.ศ. 2559. เข้าถึงได้จาก จากhttp://www.pcd.go.th/info_ serve /waste. html.
สุภาภรณ์ บุญทากลาง. (2556). ผลกระทบและการจัดการขยะในทัศนะของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเกาะช้าง อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด. (ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
เสนาะ แก้วคง. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยภาคครัวเรือนในเขตเทศบาลตำบลบางวัวคณารักษ์ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Participations place in rural development: Seeking Clarity through specificity. New York: World Developments.