การศึกษานโยบายไทยนิยม ยั่งยืน: กลไก กระบวนการ และความสอดคล้องเชิงนโยบาย กรณีศึกษาอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ภานุเดช ชื่นจิตร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไก กระบวนการ และความสอดคล้องกันระหว่างผลการประเมินความสำเร็จกับวัตถุประสงค์ของนโยบายไทยนิยม ยั่งยืน กรณีศึกษาอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงเอกสาร มุ่งศึกษาค้นคว้าตำราทางวิชาการ เอกสารทางราชการ และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย 1) ประชาชนในพื้นที่อำเภอเมืองปทุมธานีที่เข้าร่วมเวทีประชาคมทั้ง 4 ครั้ง และเข้าร่วมประชุมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน (หมู่บ้าน/ชุมชนละสองแสนบาท) จำนวน 7 ตำบล ๆ ละ 3 คน รวม 21 คน และ 2) ทีมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยมยั่งยืน ระดับตำบล จำนวน 7 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) กลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ทั้ง 4 ระดับ เป็นการแต่งตั้งจากข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐทั้งหมด ไม่มีการกำหนดบทบาทให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการอย่างแท้จริง ซึ่งไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ กระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน เป็นการนำนโยบายไปปฏิบัติในลักษณะการสั่งการแบบบนลงล่าง ไม่ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเสนอปัญหา/ความต้องการอย่างแท้จริง และ 3) การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ไม่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงในหมู่บ้าน/ชุมชนในพื้นที่อำเภอเมืองปทุมธานี และไม่ได้เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับการพัฒนาประเทศตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ของนโยบาย แต่เป็นเพียงการหวังประโยชน์ในทางการเมือง ซึ่งไม่สอดคล้องกันในเชิงนโยบาย

Article Details

How to Cite
ชื่นจิตร ภ. (2021). การศึกษานโยบายไทยนิยม ยั่งยืน: กลไก กระบวนการ และความสอดคล้องเชิงนโยบาย กรณีศึกษาอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจยวิชาการ, 4(4), 245–254. https://doi.org/10.14456/jra.2021.97
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงมหาดไทย. (2561). คู่มือการการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.

จุมพล หนิมพานิช. (2547). การวิเคราะห์นโยบาย ขอบข่าย แนวคิด ทฤษฎี และกรณีตัวอย่าง. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธัญวรัตน์ แจ่มใส. (2558). การศึกษาวิเคราะห์นโยบายสาธารณะและการนำนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรไปปฏิบัติในจังหวัดสุรินทร์. วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 5(1), 121-141.

นภนต์ ภุมมา. (2562). ไทยนิยม ยั่งยืน. เศรษฐสาร, 33(11), 6.

ยอดชาย วิถีพานิช. (2549). นโยบายสาธารณะ: นโยบายของรัฐจากฝ่ายการเมืองสู่ฝ่ายบริหาร. รัฐสภาสาร, 54(2), 78-79.

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2551). การนำนโยบายไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด.

วรเดช จันทรศร. (2548). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สหายบล็อกและการพิมพ์.