ศึกษางานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ที่มีต่อการพัฒนาสังคม

Main Article Content

พระธีรพันธุ์ ฐิตธมฺโม (บุญบาง)
พระศรีสมโพธิ
ศิริโรจน์ นามเสนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์งานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ในจังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูป เลือกแบบเจาะจงจากผู้ทรงคุณวุฒิ คือ เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล เจ้าอาวาส ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า งานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ มีการประยุกต์งานด้านสังคมสงเคราะห์ คือ การช่วยเหลือสังคมอย่างต่อเนื่องที่ไม่ขัดต่อพระธรรมวินัยและสมณสารูป สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสาธารณสงเคราะห์คณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีเจ้าคณะจังหวัดเป็นผู้นำขับเคลื่อนงาน มีรูปแบบและระบบการทำงานแบบคณะกรรมการ มีกิจกรรมเด่นชัด เช่น การสร้างบ้านให้ผู้ยากไร้ การแจกสิ่งของบรรเทาทุกข์ และกลุ่มสาธารณสงเคราะห์ของวัดในพื้นที่ การวิเคราะห์งานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์เป็นการปฏิบัติงานในหน้าที่ของพระสังฆาธิการตามระเบียบมหาเถรสมาคม จุดเด่น คือ ผู้นำเข้มแข็ง ผู้ตามรักงาน สร้างความศรัทธา ตัดสินใจรวดเร็ว และไม่ต้องอิงอาศัยภาครัฐ จุดด้อย คือ เป็นจังหวัดใหญ่ ประชากรมาก และปัญหาสังคมมาก พระสงฆ์ที่มีประสบการณ์ในด้านนี้ยังมีจำนวนน้อย โอกาส คือ มีสถาบันการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ที่สามารถสร้างหลักสูตรเพื่อเพิ่มบุคลากรในด้านนี้ให้ และมีเครือข่ายที่ทำงานร่วมกัน อุปสรรค คือ ขีดจำกัดด้วยสถานภาพความเป็นพระสงฆ์และงบประมาณ

Article Details

How to Cite
พระธีรพันธุ์ ฐิตธมฺโม (บุญบาง), พระศรีสมโพธิ, & นามเสนา ศ. . (2022). ศึกษางานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ที่มีต่อการพัฒนาสังคม. วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 25–34. https://doi.org/10.14456/jra.2022.29
บท
บทความวิจัย

References

พระครูประภัสร์สิทธิคุณ (ประสิทธ์ ปภสฺสโร). (2555). บทบาทของพระสงฆ์ด้านการสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสุภาจารวัฒน์. (2542). บทบาทพระสงฆ์ชนบทท่ามกลางวิกฤติ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

ไพบูลย์ เสียงก้อง. (2544). วัดพัฒนา 44. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2559). พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วุฒินันท์ กันทะเตียน. (2562). แก่นสาธารณสงเคราะห์ในคัมภีร์พุทธ. นนทบุรี: นิติธรรมการพิมพ์.