พระคิลานุปัฏฐาก: บทบาทการดูแลสุขภาวะพระสงฆ์

Main Article Content

พระอธิการเฉลิม กนฺตสาโร
ศิริโรจน์ นามเสนา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทการดูแลสุขภาวะพระสงฆ์ของพระคิลานุปัฏฐาก พบว่า พระพุทธศาสนามีหลักการว่า ความเกิด ความแก่ ความเจ็บป่วยและความตาย เป็นกระบวนการที่ดำเนินไปตามกฎของธรรมชาติ ดังพุทธพจน์ที่ว่า “อาโรคยา ปรมา ลาภา ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” พระพุทธองค์ทรงให้ความสำคัญกับการมีสุขภาพแข็งแรง ทรงชี้แนะให้พุทธสาวกดำรงตนให้เป็นผู้มีโรคาพาธน้อย รวมถึงการบริโภคปัจจัย 4 เพื่อความเป็นผู้ไม่มีโรคเบียดเบียน ความดำรงอยู่แห่งอัตภาพ ความเป็นอยู่ โดยผาสุกและอนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์ ในยุคปัจจุบันมีการส่งเสริมให้พระสงฆ์ดูแลสุขภาพตนเอง อุปัฏฐาก และให้พระสงฆ์มีบทบาทในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคม เพื่อช่วยดูแลสุขภาพของพระสงฆ์เบื้องต้น ซึ่งกลุ่มพระสงฆ์ที่กล่าวถึงนี้ เรียกว่า “พระคิลานุปัฏฐาก” หรือพระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพตำบลประจำวัด (อสว.) เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญด้านการสาธารณสุขของพระพุทธศาสนาไทย โดยมีหน้าที่สำคัญในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตนเอง พระอุปชา อาจารย์และสหธรรมที่เอื้อต่อพระธรรมวินัย ช่วยทำให้พระสงฆ์หมู่ใหญ่มีสุขภาพที่แข็งแรงสามารถประกอบศาสนกิจตามแนวทางแห่งพระพุทธศาสนา อนึ่ง การขับเคลื่อนสุขภาวะพระสงฆ์ทั่วประเทศ เป็นหน้าที่ร่วมกันของทุกภาคส่วนในสังคม ใช้ทางธรรมนำทางโลก ครอบคลุมปัจจัย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านข้อมูล ด้านการพัฒนา ด้านบริการสุขภาพและสวัสดิการด้านการวิจัยและพัฒนาชุดความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ โดยก่อให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างวัดกับชุมชน ทำให้พระแข็งแรง วัดมั่นคง ชุมชนเข้มแข็งต่อไปในอนาคต

Article Details

How to Cite
พระอธิการเฉลิม กนฺตสาโร, & นามเสนา ศ. . (2022). พระคิลานุปัฏฐาก: บทบาทการดูแลสุขภาวะพระสงฆ์. วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 275–284. https://doi.org/10.14456/jra.2022.49
บท
บทความวิชาการ

References

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2548). ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.

พระวิชิต ธมฺมชิโต. (2560). คู่มือดูแลพระภิกษุอาพาธในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ญาณภาวัน.

พระศักดิธัช สํวโร. (2561). รูปแบบและกระบวนการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามแนวพระพุทธศาสนาของประชาชนในจังหวัดแพร่. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุกสะหวัน บุดขะหมวน. (2559). การดูแลสุขภาพตนเองของพระสงฆ์ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร”. (วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรมศาสตร์.

พระอธิการเฉลิม กนฺตสาโร. (2562). การพัฒนาศักยภาพพระคิลานุปัฏฐากในโครงการวัดส่งเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). สุขภาพคนไทย 2563 : สองทศวรรษ ปฏิรูปการศึกษาไทย ความล้มเหลวและความสำเร็จ. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2554). พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน. (พิมพ์ครั้งที่ 18). นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.). (2562). ธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ พุทธศักราช 2560. (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: บริษัท โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าท์ จำกัด.

อุมาพร นิ่มตระกูล และพระวิสิทธิ์ ฐิตฺวิสิทฺโธ. (2563). พฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์กับความ รอบรู้ด้านสุขภาพจากพระคิลานุปัฏฐากสู่พระนักสื่อสารในเขตสุขภาพที่ 1. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา. 11(1). 33-51.