อาจริยวัตร–อันเตวาสิกวัตรหลักการปฏิบัติเพื่อความดีงามผาสุกแก่หมู่สงฆ์

Main Article Content

พระทวีศักดิ์ ตปสีโล (เฉลิมสิริโรจน์)
ศิริโรจน์ นามเสนา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาจริยวัตร–อันเตวาสิกวัตร: หลักการปฏิบัติเพื่อความดีงามผาสุกแก่หมู่สงฆ์ พบว่า อาจริยวัตรและอันเตวาสิกวัตร เป็นหลักคำสอนเป็นหลักการปฏิบัติเพื่อสร้างความเจริญในหมู่ในคณะของพระภิกษุสงฆ์มาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยพุทธกาลในวัตตขันธกะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระสมณโคดม ผู้เป็นพระศาสดาได้ทรงบัญญัติข้อวัตร ระเบียบแบบแผนในความเป็นอยู่ให้แก่ภิกษุสงฆ์ได้ถือเอาหลัก “อาจริยวัตรและอันเตวาสิกวัตร” ซี่งกำหนดให้พระอาจารย์ต้องปกครองดูแลอันเตวาสิกนี้เป็นหลักประกันว่ากุลบุตรผู้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาจะได้รับการศึกษาตามหลักไตรสิกขาอย่างแน่นอน การที่กำหนดให้ทั้งสองฝ่ายกระทำวัตรต่อกันก็เพื่อให้เกิดประโยชน์ คือ เพื่อลดทิฏฐิมานะของศิษย์ ให้มีความเคารพยำเกรงในพระอาจารย์อันจะเป็นการง่ายในการฝึกหัดพัฒนาด้านอื่น ๆ และเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้ทำอุปการต่อกัน จะได้เกิดความสนิทสนมสมานสามัคคีและความอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก เรียบร้อยดีงาม อาจริยวัตรและอันเตวาสิกวัตรนี้มีประโยชน์เกื้อกูลต่อสังคมสงฆ์ทั้งในภาวะปกติและในภาวะที่เกิดความขัดแย้ง กล่าวคือในภาวะปกติ การที่ทั้งสองฝ่ายได้ทำอุปการะต่อกัน สิ่งที่เกิดแน่นอนคือความสมานสามัคคีอย่างแนบแน่น ระหว่างพระอาจารย์และอันเตวาสิกและรวมทั้งพระภิกษุร่วมพระอาจารย์เดียวกัน หากเกิดความขัดแย้งหรือเกิดอธิกรณ์ การที่คณะสงฆ์ได้ทำอุปการะต่อกัน การแก้ปัญหาก็จะเป็นไปโดยง่าย เพราะทั้งสองฝ่ายจะมีความเคารพยำเกรงกัน บางปัญหาก็แก้ได้ เพราะเห็นแก่พระอาจารย์หรือเพราะมีความเคารพยำเกรงในพระอาจารย์ซึ่งถือว่าเป็นเสมือนผู้ให้ผู้ปกครองเช่น ดุจเดียวกับมารดาบิดาในโลกแห่งพระพุทธศาสนา อาจริยกวัตรและอันเตวาสิกวัตรจึงเป็นสายสัมพันธ์เพื่อความสามัคคีในหมู่สงฆ์

Article Details

How to Cite
พระทวีศักดิ์ ตปสีโล (เฉลิมสิริโรจน์), & นามเสนา ศ. . (2022). อาจริยวัตร–อันเตวาสิกวัตรหลักการปฏิบัติเพื่อความดีงามผาสุกแก่หมู่สงฆ์. วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 297–310. https://doi.org/10.14456/jra.2022.51
บท
บทความวิชาการ

References

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2538). พฤติกรรมการบวชของคนไทย. (รายงานการวิจัย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: คณะสังคมศาสตร์.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2539). สถานการณ์พระพุทธศาสนากระแสไสยศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิธิพุทธธรรม.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542)ก. สอนนาค-สอนฑิตชีวิตพระชีวิตชาวพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2553). ทุกข์สำหรับเห็น แต่สุขสำหรับเป็น. นครปฐม: วัดญาณเวศกวัน.

พุทธทาสภิกขุ. (2537). คำสอนผู้บวชพรรษาเดียวฉบับสมบูรณ์ของพุทธทาส. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย,ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.