การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับการสื่อสารทางการเมืองเพื่อเสริมสร้างความสมานฉันท์

Main Article Content

พระครูธรรมธรบุญเที่ยง พุทฺธสาวโก (ลักษณ์พลวงค์)
สุรพล สุยะพรหม
ประณต นันทิยะกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการสื่อสารทางการเมืองในจังหวัดพะเยา 2) ศึกษาปัจจัยการสื่อสารทางการเมืองเพื่อเสริมสร้างความสมานฉันท์ในจังหวัดพะเยา และ 3) เสนอรูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมกับการสื่อสารทางการเมืองเพื่อเสริมสร้างความสมานฉันท์ในจังหวัดพะเยา ใช้การวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน จากประชาชนจังหวัดพะเยา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาการสื่อสารทางการเมืองในจังหวัดพะเยา พบว่า ด้านผู้ส่งสาร นักการเมืองบางท่านมีการสื่อสารพูดชวนให้เลือกข้างอาจจะทำให้เกิดความแตกความสามัคคี ด้านสาร นักการเมืองพูดความจริงไม่ทั้งหมด ด้านช่องทางการสื่อสาร มีปัญหาสะสมจากอดีตการจัดสรรผลประโยชน์ที่ไม่เท่าเทียม ด้านผู้รับสาร จะต้องมีสติและคุณธรรมในการรับข้อมูลข่าวสาร 2) ปัจจัยการสื่อสารทางการเมืองเพื่อเสริมสร้างความสมานฉันท์ในจังหวัดพะเยา พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=3.63) เมื่อพิจารณาโดยเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ด้านผู้รับสาร (gif.latex?\bar{X}=3.84) รองลงมาได้แก่ ด้านสาร (gif.latex?\bar{X}=3.62) ด้านผู้ส่งสาร (gif.latex?\bar{X}=3.58) และด้านช่องทางการสื่อสาร (gif.latex?\bar{X}=3.51) และ 3) รูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมกับการสื่อสารทางการเมืองเพื่อเสริมสร้างความสมานฉันท์ในจังหวัดพะเยา พบว่า ด้านผู้ส่งสาร ผู้ส่งสารต้องให้ความสำคัญกับคุณธรรม จริยธรรม ด้านสาร แหล่งข้อมูลที่สามารถอ้างอิงได้เกิดประโยชน์ทั้งส่วนรวมและส่วนตัว ด้านช่องทางการสื่อสาร การใช้ช่องทางสื่อสารที่เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน ด้านผู้รับสาร ยึดหลักธรรมด้วยสติสัมปชัญญะ มีการบูรณาการด้านคุณธรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม

Article Details

How to Cite
(ลักษณ์พลวงค์) พ. พ. ., สุยะพรหม ส. ., & นันทิยะกุล ป. . (2022). การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับการสื่อสารทางการเมืองเพื่อเสริมสร้างความสมานฉันท์. วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 15–24. https://doi.org/10.14456/jra.2022.28
บท
บทความวิจัย

References

นิเทศ สนั่นนารี. (2561). การสื่อสารเชิงพุทธเพื่อสร้างความปรองดองในสังคม. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 5(1), 159-178.

พิสมัย วงส์จำปา. (2564). การพัฒนาข้อเสนอและรูปธรรมของการปฏิรูปไทยของกลุ่มการเมืองในจังหวัดพะเยา. เข้าถึงได้จาก http://www.kpi.ac.th/media/pdf/research

สำนักงานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง. (2555). รายงานฉบับสมบูรณ์คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ กรกฎาคม 2553-กรกฎาคม 2554. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง.

สืบวงษ์ สุขะมงคล. (2557). การบริหารจัดการความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทยระหว่างปีพ.ศ. 254-2555. วารสารเกษมบัณฑิต, 15(1), 39.

สุรพงษ โสธะเสถียร. (2545). สื่อสารกับการเมือง. กรุงเทพฯ: ประสิทธิภัณฑแอนดพริ้นติ้ง.

Cronbach, Lee J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper. & Row.