การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค กับแนวคิดของ Benjamin S. Bloom
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระหว่างจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคกับแนวคิดของ Benjamin S. Bloom เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการจำแนกข้อมูลจัดหมวดหมู่ตามประเด็นที่กำหนดในขอบเขตของการวิจัยและสร้างข้อสรุปด้วยวิธีการอุปนัย ผลการวิจัย พบว่า จุดมุ่งหมายการเรียนรู้ระหว่างวิสุทธิมรรคกับแนวคิดของ Benjamin s. Bloom วิสุทธิมรรคมีองค์ประกอบจุดมุ่งหมายการเรียนรู้หลัก คือ ระบบไตรสิกขา กับแนวคิดของ Benjamin s. Bloom มีการเรียนรู้ที่มีจุดมุ่งหมายที่จัดเรียงองค์ประกอบจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ ที่มีความสัมพันธ์ ทางด้าย กาย จิตใจ และปัญญา อย่างชัดเจน อันเป็นองค์ประกอบหลัก แนวคิดของ Bloom นั้น เริ่มต้นกระบวนการจากพุทธิพิสัย ซึ่งมีแนวคิดตั้งต้นมาจากการพัฒนาแนวคิดทางจิตวิทยาทางการศึกษาซึ่งเป็นเรื่องที่ Bloom และคณะให้ความสำคัญ ในการวางแนวคิดในการจำแนกพฤติกรรมทางการศึกษาซึ่งมีองค์ประกอบ มุ่งเน้นการเรียนรู้ทางด้านของพฤติกรรมทางสมอง เป็นอันดับแรก ส่วนวิสุทธิมรรคมีการเรียงองค์ประกอบ จากพฤติกรรมที่แสดงออกทางด้านความประพฤติทางกายเป็นอันดับแรก เนื่องจากหลักการและจุดมุ่งหมายของวิสุทธิมรรค เป็นระบบที่มุ่งเน้นในเชิงปฏิบัติการในการเรียนรู้โดยตรง จึงเริ่มต้นด้วยองค์ประกอบที่มุ่งเน้นการกระทำเป็นหลัก อันเป็นหลักการที่ฝึกฝนจากภายนอกไปสู่ภายใน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). ศึกษา ฝึกฝน พัฒนาตนให้สูงสุด. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: อมรินทร์ธรรมะ.
Anderson, L. W., & Krathwohl, D. R. (2001). A Taxonomy for Learning, Teaching and Assessing: A Revision of Bloom’s Taxonomy of Educational Objectives: Complete Edition. New York: Longman.
Bloom, B.S. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, the classification of educational goals-Handbook I: Cognitive Domain. New York: McKay.
Dewey, J. (1975). Moral Principles in Education. London: Fever & Simons.