การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักอนุปุพพิกถา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักอนุปุพพิกถาในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) ศึกษาความหมาย แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักอนุปุพพิกถา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา และวรรณกรรมพระพุทธศาสนา ผลการศึกษา พบว่า 1) หลักอนุ
ปุพพิกถา เป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ฆราวาสไปตามลำดับขั้นจากง่ายไปหายาก มี 5 ประการ คือ 1.1) ทานกถา การพรรณนาทาน 1.2) สีลกถา การพรรณนาศีล 1.3) สัคคกถา การพรรณนาสวรรค์ 1.4) กามาทีนวกถา การพรรณนาโทษแห่งกาม และ 1.5) เนกขัมมานิสังสกถา อานิสงส์แห่งการออกบวช เมื่อจิตใจของผู้ฟังมีความบริสุทธิ์ผ่องใสปีติเบิกบานดีแล้ว พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรมขั้นสูงที่มีความละเอียดลึกซึ้ง คือ อริยสัจ ๔ อันเป็นพระธรรมคำสอนที่พระพุทธองค์สั่งสอนสรรพสัตว์เพื่อการพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง 2) การพัฒนาคุณภาพชีวิต คือ การทำให้บุคคลมีความเป็นอยู่ดี การได้รับการตอบสนองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตตามความพึงพอใจ ดำรงชีวิตด้วยความสุขทางกายและจิตใจ 3) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักอนุปุพพิกถา พบว่า มีองค์ประกอบ ตัวชี้วัดในด้านต่าง ๆ เป็นตัวสะท้อนคุณภาพชีวิตสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 3.1) การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางโลก บรรลุความจำเป็นขั้นพื้นฐานของชีวิต และ 3.2) พัฒนาคุณภาพชีวิตทางพระพุทธศาสนา ดำเนินชีวิตด้วยปัญญาแก้ทุกข์ด้วยปัญญา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
เดชา บุญมาสม. (2558). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสุนทรขันติรัต (คำนึง ขนฺติพโล). (2561). การศึกษาวิเคราะห์อนุปุพพิกถาที่ปรากฏในพระไตรปิฎก. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2555). พระพุทธศาสนาในอาเซียน. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
พระมหาสมชาย สิริจนฺโท (หานนท์). (2547). พุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทางของพระเทพวรคุณ (สมาน สุเมโธ). (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศิริ ฮามสุโพธิ์. (2542). ประชากรกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
สมพร เทพสิทธา. (2539). การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคมและการพัฒนาคน. กรุงเทพฯ: สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์.
สุทธิพร บุญส่ง. (2552). คุณธรรมจริยธรรมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ่ล เอ็ดดูเคชั่น.