แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มโรงเรียนจตุรมิตร อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2

Main Article Content

กิตติยา สุขเกษม
วินัย ทองมั่น
วรกฤต เถื่อนช้าง
อานนท์ เมธีวรฉัตร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม และ 2) เสนอแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมตามหลักพรหมวิหารธรรม ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนจตุรมิตร ใช้รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในกลุ่มโรงเรียนจตุรมิตร จำนวน 108 คน จากประชากรทั้งสิ้น จำนวน 146 คน โดยใช้ตาราง Krejcie & Morgan ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย และสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น .95 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสังเคราะห์คำสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานอยู่ในระดับสูงสุด และด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลอยู่ในระดับต่ำสุด 2) แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มโรงเรียนจตุรมิตร ควรดำเนินการ ดังนี้ 2.1) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ควรพัฒนาผู้นำให้มีมนุษยสัมพันธ์ ใจเป็นกลาง ให้กำลังใจ ชื่นชม ให้รางวัล ให้ความรักและความจริงใจกับบุคลากรอย่างทั่วถึง 2.2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ควรพัฒนาผู้นำให้มีวิสัยทัศน์ มีการกระจายงาน เอาใจใส่ ช่วยแก้ปัญหา สร้างขวัญกำลังใจ ไม่เกิดความอิจฉา พลอยยินดีกับความสำเร็จ 2.3) การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ควรพัฒนาผู้นำให้มีเจตคติที่ดีกับการทำงานกับผู้อื่น สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน แสดงความรัก ความหวังดี และความห่วงใยอย่างจริงใจ และ 2.4) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล ควรพัฒนาผู้นำให้มีทักษะหลายด้าน มีเมตตา น่าเข้าหา ไม่ดุดัน และควบคุมอารมณ์ตนเองได้

Article Details

How to Cite
สุขเกษม ก., ทองมั่น ว. ., เถื่อนช้าง ว. ., & เมธีวรฉัตร อ. . (2022). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มโรงเรียนจตุรมิตร อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 77–90. https://doi.org/10.14456/jra.2022.34
บท
บทความวิจัย

References

กัญญา เพ็ชรนอก. (2558). การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม และภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 30-44.

กัลยานี บัณฑิชาติ. (2557). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอเขาสมิง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชาลิกา ฮีมีนกูล. (2562). ภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชุติมา มุสิกานนท์. (2558). การใช้หลักพรหมวิหารธรรมในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มเครือข่ายที่ 1 โนนแดงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

ตรีทิพย์ จุฑาสันติกุล. (2561). ความสัมพันธ์ของรูปแบบภาวะผู้นำแบบมุ่งคน งบประมาณแบบมีส่วนร่วม และผลดำเนินงานของผู้บริหาร: การศึกษาในการประปาส่วนภูมิภาค. (วิทยานิพนธ์การบัญชีมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นิตยา นิยมวงศ์. (2555). การศึกษาคุณธรรมตามหลักพรหมวิหาร ๔ ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

นิตยา มั่นชำนาญ. (2557). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาเขาสมิง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประธาน ยศรุ่งเรือง. (2559). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

พระครูวิวัฒน์ธรรมานุกูล (อ๊อด ธมฺมปาโล) และคณะ. (2563). การพัฒนาคุณลักษณะพรหมวิหารธรรม สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 7(1), 27-38.

พระประกอบ ถิรจิตฺโต. (2558). การใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในการบริหารงานของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระเลอวุฒิ ภูริปญฺโญ (เนตรตะวงศ์ษา). (2555). ภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหาร 4 ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. (2562). ข้อมูลสารสนเทศ. เข้าถึงได้จาก https://www.nsw2.go.th/web/index.php/plan-blog/information-group.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. (2562). รายงานผลการเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม. เข้าถึงได้จาก https://www.nsw2.go.th/web/index.php/nsw2-report.

Mickey, B. H. (2000). Instructional leadership: A vehicle for one urban principal to effective pedagogical restructuring in a Middle school. (Dissertation dissertation). Temple University.