แนวทางพัฒนาการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูด้วยหลักไตรสิกขาของครูกลุ่มโรงเรียนปางมะค่า จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

สิริพร พิมพ์สิงห์
วรกฤต เถื่อนช้าง
พระครูศรีสุธรรมนิวิฐ
พระมหาอุดร อุตฺตโร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู ของครูกลุ่มโรงเรียนปางมะค่า และ 2) เสนอแนวทางพัฒนาการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูด้วยหลักไตรสิกขา วิธีการดำเนินการวิจัย เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในกลุ่มโรงเรียนปางมะค่า จำนวน 115 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.91 วิเคราะห์และประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านจรรยาบรรณต่อตนเองอยู่ในระดับมาก ด้านจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ด้านจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ด้านจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ และด้านจรรยาบรรณต่อสังคมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) แนวทางพัฒนาการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูด้วยหลักไตรสิกขา ประกอบด้วย 5 แนวทาง ดังนี้ 1) ด้านจรรยาบรรณต่อตนเอง ครูควรเข้ารับการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้มีมาตรฐานในการทำงาน 2) ด้านจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ครูควรมีครูต้นแบบ ที่เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์ ในการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยรัก ศรัทธา ภาคภูมิใจ ซื่อสัตย์สุจริต และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ 3) ด้านจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ครูควรมีใจรักการบริการ โดยให้ความรู้ ความรัก ความเมตตา ดูแลเอาใจใส่ อบรม สั่งสอน เป็นแบบอย่างที่ดีทั้งกาย วาจา ใจ 4) ด้านจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ครูควรจัดตั้งกลุ่มหรือชมรมโดยใช้กิจกรรม (PLC) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในการร่วมคิด ร่วมพัฒนา ร่วมแก้ปัญหา ร่วมชื่นชม (ศีล) 5) ด้านจรรยาบรรณต่อสังคม ครูควรนำนักเรียนเข้าศึกษาในแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน

Article Details

How to Cite
พิมพ์สิงห์ ส., เถื่อนช้าง ว. ., พระครูศรีสุธรรมนิวิฐ, & พระมหาอุดร อุตฺตโร. (2022). แนวทางพัฒนาการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูด้วยหลักไตรสิกขาของครูกลุ่มโรงเรียนปางมะค่า จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 237–248. https://doi.org/10.14456/jra.2022.46
บท
บทความวิจัย

References

เอมอร จันทนนตรี. (2560). หลักพุทธธรรมสำหรับครู. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 17(1), 235-245.

แสงเดือน อาจหาญ. (2560). กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต 2. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 11(3), 86-94.

ครูเชียงราย. ความสำคัญของจรรยาบรรณวิชาชีพ. เข้าถึงได้จาก https://www.kruchiangrai.net

ทองพรรณ ปัญญาอุดมกุล. (2563). แนวทางการพัฒนาการใช้กระบวนการ PLC (Professional Learning Community) เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนบ้านนาอ้อม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2. วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์, 1(1), 45-55.

ปนัดดา วัฒโน. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 53(1), 133-159.

ปิยะวัฒน์ กรมระรวย. (2560). โมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตวิญญาณความเป็นครู. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(3), 836-852.

พระปลัดสมชาติ ศิริปรีชารักษ์. (2556). แนวทางการเสริมสร้างประชาธิปไตยในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศวรสาร, 9(1), 67-82.

พระมงคลสุตาคม สิทธิชัยอติธมฺโม. (2560). ครู คือ พ่อแม่คนที่สองของศิษย์. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 4(1), 1-7.

ยนต์ ชุ่มจิต. (2558). ความเป็นครู. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

โรงเรียนบ้านโป่งแต้. (2562). รายงานการประเมินตนเอง (SAR). (อัดสำเนา).

โรงเรียนบ้านพัดโบก. (2562). รายงานการประเมินตนเอง (SAR). (อัดสำเนา).

โรงเรียนบ้านศรีสมบูรณ์พัฒนา. (2562). รายงานการประเมินตนเอง (SAR). (อัดสำเนา).

โรงเรียนวังน้ำพัฒนา. (2562). รายงานการประเมินตนเอง (SAR). (อัดสำเนา).

โรงเรียนอนุบาลปางมะค่า. (2561). รายงานการประเมินตนเอง (SAR). (อัดสำเนา).

วิทยา ทองดีและคณะ. (2562). รูปแบบพุทธบูรณาการเพื่อการส่งเสริมครูต้นแบบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(3), 194-208.

ศรีวรรณ แก้วทองดี. (2562). แนวทางการพัฒนาตนเองของครูในสถานศึกษา สหวิทยาเขตบึงสามพัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40. ใน การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 8 (น. 1593-1606). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุหัชชา พิมพ์เนาว์. (2561). การจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาเพื่อพัฒนาผู้เรียน กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของโรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อรรณพ จีนะวัฒน์. (2559). การพัฒนาตนของผู้ประกอบวิชาชีพครู. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 9(2), 1379-1395.

Wanmainoppakate. (2564). เก่ง ดี มีสุข. เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/wan mainoppakate/keng-di-mi-sukh-1