การพัฒนารูปแบบวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่จังหวัดเลย

Main Article Content

ธงชัย สิงอุดม
จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์
สุรพล สุยะพรหม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่จังหวัดเลย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการตีความ ผลการวิจัย พบว่า การประเมินผลรูปแบบวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่จังหวัดเลย ในภาพรวม พบว่า ด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้ง 2 ด้าน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน และการพัฒนารูปแบบวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่จังหวัดเลย ประกอบด้วย ด้านการออกเสียงเลือกตั้ง ด้านการสื่อสารทางการเมือง ด้านจิตสำนึกทางการเมือง ด้านการเป็นตัวแทนกลุ่มหรือพรรคการเมือง ด้านการเป็นอาสาสมัครทางการเมือง ด้านการเป็นกลุ่มสังเกตการณ์ทางการเมือง ด้านการเคลื่อนไหวทางการเมือง การตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชน และคนรุ่นใหม่ และธรรมาภิบาลทางการเมือง

Article Details

How to Cite
สิงอุดม ธ., อดิวัฒนสิทธิ์ จ. ., & สุยะพรหม ส. . (2022). การพัฒนารูปแบบวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่จังหวัดเลย. วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 105–114. https://doi.org/10.14456/jra.2022.36
บท
บทความวิจัย

References

กรภพ ธัญญกรณ์ภูวดลและพิมนกาลล์ ธีร์ก้านพลูกลาง. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทางการเมืองในระดับท้องถิ่นของประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. วารสารราชนครินทร์, 17(1), 11-19.

เจ้าอธิการพิชิตศักดิ์ สุภาจาโร (จีบสันเทียะ). (2560). การมีส่วนร่วมตามแนวพระพุทธศาสนาของประชาชนในการดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชนในจังหวัดชลบุรี”. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 501-513.

ชาญชัย ฮวดศรี. (2558). รูปแบบการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองเชิงพุทธของผู้นำชุมชนจังหวัดขอนแก่น. (รายงานการวิจัย). สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.

ทักษิณ ประชามอญ. (2560). รูปแบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมตามหลักพุทธธรรมขององค์การ บริหารส่วนจังหวัด ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เปรมศักดิ์ แก้วมรกฎ. (2561). วัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของวัยรุ่นในสังคมพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(ฉบับพิเศษ), 217-225.

มานพ เข็มเมืองและประชัน คะเนวัน. (2559). การมีส่วนร่วมการเลือกตั้งทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลหนองแวง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 5(1), 108-124.

ศิริชัย เพชรรักษ์. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2(2), 108-117.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2548). ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2548. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. 2548.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2551). ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2554). ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2562). ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

อำนวย สุขขี. (2562). การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนบนวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองประเทศไทย ระหว่างปี พ. ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๗. (ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.