การส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนมีต่อนักการเมืองในจังหวัดอุทัยธานี

Main Article Content

ประคอง มาโต
วัชรินทร์ ชาญศิลป์
สุรพล สุยะพรหม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในการส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนมีต่อนักการเมืองในจังหวัดอุทัยธานี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนมีต่อนักการเมืองในจังหวัดอุทัยธานี และ 3) เพื่อนำเสนอการแนวทางการส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนมีต่อนักการเมืองในจังหวัดอุทัยธานี รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 12 รูปหรือคน และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น .959 กับกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มแบบบังเอิญ จำนวน 400 คน จากประชากร จำนวน 329,942 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพทั่วไปความนิยมทางการเมือง โดยนักการเมืองเป็นผู้มีคุณสมบัติดังนี้คือ การทำประโยชน์ มีสถานะทางสังคม การอบรมให้ความรู้ประชาชน มีนิสัยที่ดี มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์และมีความสัมพันธ์กับเครือข่าย 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความนิยมทางการเมือง จากปัจจัยความนิยมทางการเมืองทั้ง 7 ปัจจัย นำมาวิเคราะห์ทางสถิติ ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับมีปัจจัยที่ส่งผล 5 ปัจจัย คือ การทำประโยชน์ (x1) สถานะทางสังคม (x2) ลักษณะนิสัย (x3) ความสามารถพิเศษ (x4) และประสบการณ์ของนักการเมือง (x5) เป็นปัจจัยที่เป็นตัวกำหนด ความนิยมทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมือง y และ 3) การส่งเสริมความนิยมทางการเมือง โดยการประยุกต์หลักสังคหวัตถุ 4 คือ นักการเมืองปฏิบัติตนเป็นผู้ให้ เป็นผู้ที่มีวาจาไพเราะ เป็นผู้สงเคราะห์ประชาชน และเป็นผู้ทำตนเสมอตนเสมอปลาย

Article Details

How to Cite
มาโต ป., ชาญศิลป์ ว. ., & สุยะพรหม ส. . (2022). การส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนมีต่อนักการเมืองในจังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 115–128. https://doi.org/10.14456/jra.2022.37
บท
บทความวิจัย

References

เจเศรษฐ์ ไทยเศรษฐ์. (2564, 28 มีนาคม). การส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนมีต่อนักการเมืองในจังหวัดอุทัยธานี. (นายประคอง มาโต, ผู้สัมภาษณ์).

เผด็จ นุ้ยปรี. (2564, 24 มีนาคม). การส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนมีต่อนักการเมืองในจังหวัดอุทัยธานี. (นายประคอง มาโต, ผู้สัมภาษณ์).

ไพวรรณ ปุริมาตร. (2564). พลวัตทางการเมืองกับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักการเมืองท้องถิ่น. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 6(1), 120-130.

ชนกนาถ พูลสวัสดิ์. (2554) .ความนิยมทางการเมืองพรรคการเมืองในสังคมไทย ศึกษาเปรียบเทียบพรรคประชาธิปัตย์ในสงขลาและตาก. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 4(3), 171.

ชาดา ไทยเศรษฐ์. (2564, 26 มีนาคม). การส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนมีต่อนัก การเมืองในจังหวัดอุทัยธานี. (นายประคอง มาโต, ผู้สัมภาษณ์).

ชุติพนธ์ วงษ์อมรวิทย์ เติมศักดิ์ ทองอินทร์ สุรพล สุยะพรหม. (2563). การเสริมสร้างจริยธรรมทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(4), 14-16.

ณัฐพงศ์ บุญเหลือ. (2556). นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี, กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า.

ธาตรี มหันตรัตน์. (2559). นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 3(2), 49.

นพดล พนเสน. (2564, 28 มีนาคม). การส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนมีต่อนัก การเมืองในจังหวัดอุทัยธานี. (นายประคอง มาโต, ผู้สัมภาษณ์).

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2563). ประชาชนตัดสินใจเลือกตั้งอย่างไร. เข้าถึงได้จาก https: //mgronline.com/daily/detail/9610000094514.

พีระพล ตัณฑโอภาส. (2564, 29 มีนาคม). การส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนมีต่อนักการเมืองในจังหวัดอุทัยธานี. (นายประคอง มาโต, ผู้สัมภาษณ์).

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์ และนพพล อัคฮาด. (2558). การศึกษาการเมืองถิ่นและนักการเมืองถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2(1), 23-48.

สิงห์ชัย ทุ่งทอง. (2564, 30 มีนาคม). การส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนมีต่อนักการเมืองในจังหวัดอุทัยธานี. (นายประคอง มาโต, ผู้สัมภาษณ์).

อลงกต วรกี. (2564, 29 มีนาคม). การส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนมีต่อนักการเมืองในจังหวัดอุทัยธานี. (นายประคอง มาโต, ผู้สัมภาษณ์).