ความไม่เท่าเทียมเชิงพื้นที่ของชุมชนใกล้กองขยะชานเมือง

Main Article Content

วัชรี บุญวิทยา
กังสดาล เชาว์วัฒนกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการศึกษาแบบเฉพาะกรณีครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความไม่เท่าเทียมเชิงพื้นที่ของคนในชุมชนใกล้กองขยะชานเมือง รวมถึงการต่อสู้ ต่อรอง และการปรับตัว โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากคนในชุมชนใกล้กองขยะ 3 พื้นที่ คือ ชุมชนใกล้กองขยะหนองแขม ชุมชนใกล้กองขยะอ่อนนุช และชุมชนใกล้กองขยะสายไหม รวม 30 คน และเก็บข้อมูลจากเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร อีก 6 คน รวม 36 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกร่วมกับการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม นอกจากนี้ยังเก็บรวบรวมข้อมูลจากนโยบาย กฎหมาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะของกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัย พบว่า ความไม่เท่าเทียมเชิงพื้นที่ของคนในชุมชนใกล้กองขยะเกิดจากความเป็นเมืองและนโยบายการจัดระเบียบเมืองที่ผลักดันให้คนจนเมืองดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและคนที่อพยพมาจากชนบทต้องเคลื่อนย้ายออกจากศูนย์กลางเมืองสู่ชานเมืองและต้องอาศัยอยู่ใกล้กองขยะที่มีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม โดยคนในชุมชนมีการต่อสู้ ต่อรอง และปรับตัวในด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1) การเป็นแรงงานนอกระบบที่ทำงานเลี้ยงชีพด้วยตนเองโดยไม่เป็นภาระกับรัฐ 2) ด้านสิทธิบนพื้นที่และสภาพที่อยู่อาศัย ซึ่งมีทั้งการดิ้นรนต่อสู้ด้วยตนเองและการต่อรองเพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ และ 3) ความสัมพันธ์ของผู้คนบนพื้นที่ที่เกิดจากอยู่อาศัยในพื้นที่มาเป็นเวลานานจนกลายเป็นความผูกพันระหว่างผู้คนและระหว่างผู้คนกับพื้นที่ โดยรัฐควรมีมาตรการจัดหาพื้นที่อยู่อาศัยที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายการจัดระเบียบเมืองและผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนใกล้กองขยะที่ต้องการย้ายไปอยู่พื้นที่อื่น นอกจากนี้ควรมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมเฉพาะสำหรับพื้นที่กองขยะและเตาเผาขยะ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสิทธิที่จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีในเมือง

Article Details

How to Cite
บุญวิทยา ว., & เชาว์วัฒนกุล ก. . (2022). ความไม่เท่าเทียมเชิงพื้นที่ของชุมชนใกล้กองขยะชานเมือง . วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 223–236. https://doi.org/10.14456/jra.2022.45
บท
บทความวิจัย

References

ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์ และฐิติวัฒน์ นงนุช. (2560). ปริทัศน์ความรู้เรื่องความเหลื่อมล้ำในเมืองศูนย์กลาง. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์ ขวัญพร บุนนาค และนภัส วัฒโนภาสและคณะ. (2561). ความเหลื่อมล้ำในเมืองมหานคร: บทปริทรรศน์ความรู้ ในบริบทประเทศไทย. วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 17(2), 169.

พระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550. (2550, 27 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 124 ตอนที่ 28 ก, หน้า 1-5.

พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560. (2560, 15 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 5 ก, หน้า 1-7.

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535. (2535, 4 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 109 ตอนที่ 37, หน้า 1-43.

Bhan, G. and Jana, A. (2015). Reading Spatial Inequality in Urban India. Economic and Political Weekly, 50(22), 49-54.

Flanagan, W.G. (1993). Contemporary Urban Sociology. New York: Cambridge University Press.

Gotham, F.K. (2003). Toward an Understanding of the Spatiality of Urban Poverty: The Urban Poor as Spatial Actors. International Journal of Urban and Regional Research, 27(3), 723-737.

Grant, U. (2010). Spatial Inequality and Urban Poverty Traps. Retrieved from https:// www.files.ethz.ch/isn/128756/wp326.pdf

N, Sridharan. (2011). Spatial Inequality and the Politics of Urban Expansion. Environment and Urbanization ASIA, 2(2) 187–204.

Venable, J.A. (2005). Spatial Inequality and Development. Retrieved from https:// researchgate.net/publication/5213315.