บทวิจารณ์หนังสือ: มองสันติภาพโลกผ่านภูมิหลังอารยธรรมโลกาภิวัตน์

Main Article Content

พระมนูศักดิ์ อุตฺตโร

บทคัดย่อ

ศาสนาเป็นคำสมมติที่ใช้กล่าวถึงความเชื่อของมนุษย์ และมนุษย์มักยึดติดกับความเชื่อของตนจนก่อให้เกิดความขัดแย้งและสงคราม การวิจารณ์หนังสือมองสันติภาพโลกผ่านภูมิหลังอารยธรรมโลกาภิวัตน์ ก็เพื่อต้องการทราบถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง โดยมีการนำศาสนามากล่าวอ้างเพื่อการเบียดเบียนผู้อื่นอย่างชอบธรรม และพุทธศาสนาที่ถือว่าเป็นศาสนาแห่งสันตินั้น ปราศจากความขัดแย้งจริงหรือไม่ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า มูลเหตุของความขัดแย้งไม่ได้เกิดจากเนื้อหาของศาสนา แต่เกิดจากรูปแบบของศาสนาที่ถูกสมมติขึ้นมีความแตกต่างกัน โดยมีปัจจัยทางการเมือง และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดสงครามและการเบียดเบียน แม้กระทั่งศาสนาแห่งสันติภาพอย่างพระพุทธศาสนา ก็ยังประสบปัญหาความขัดแย้ง อันมีมูลเหตุมาจากบุคคลที่ขาดหิริ โอตตัปปะ การเมือง และผลประโยชน์เช่นเดียวกับศาสนาอื่นในโลก

Article Details

How to Cite
พระมนูศักดิ์ อุตฺตโร. (2022). บทวิจารณ์หนังสือ: มองสันติภาพโลกผ่านภูมิหลังอารยธรรมโลกาภิวัตน์. วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 311–321. https://doi.org/10.14456/jra.2022.52
บท
บทวิจารณ์หนังสือ

References

เกรียงศักดิ์ พิศนาคะ. (2518). พระพิมลธรรมเป็นคอมมิวนิสต์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศิริสาส์น.

นันทา โชติกะพุกกณะ และนิออน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. (2525). ประวัติศาสตร์ยุโรป ค.ศ.1494-ค.ศ.1789. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำรา สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ภาสพันธ์ ปานสีดา. (2563). ครูเสด มหาสงครามแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์. กรุงเทพฯ: วิชั่น พรีเพรส.

วัชระ งามจิตรเจริญ. (2556). สมณศักดิ์: ข้อดีและปัญหา. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). กรณีธรรมกาย บทเรียนเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนา และสร้างสรรค์สังคมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พลมานัส.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557). มองสันติภาพโลก ผ่านภูมิหลังอารยธรรม โลกาภิวัตน์. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

สมบูรณ์ สุขสำราญ. (2527). พระพุทธศาสนากับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.