แนวทางการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1

Main Article Content

อรรถพันธ์ แย้มแสง
พระมหาอุดร อุตฺตโร
ปฏิธรรม สำเนียง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักไตรสิกขา 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ครูที่มีต่อการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักไตรสิกขา และ 3) เสนอแนวทางการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักไตรสิกขา วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยผสานวิธี เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 263 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก 4 ด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอยู่ในระดับสูงสุด และด้านการวัดผลและประเมินผลอยู่ในระดับต่ำสุด 2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อสภาพการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก โดยจำแนกตามตำแหน่ง อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3) แนวทางการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก ผู้บริหารนำหลักไตรสิกขาเข้ามาบูรณาการ ดังนี้ 3.1) ด้านการบริหารจัดการการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ใช้หลักการมีส่วนร่วมพัฒนาระดับความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางสังคม 3.2) ด้านการพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผู้บริหารสร้างและพัฒนาการวัดและประเมินผลหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางฯมีการพัฒนาจิตใจให้มีสมรรถภาพและประสิทธิภาพ 3.3) ด้านการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ครูกับนักเรียนและการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ สามารถแยกแยะวิเคราะห์สืบหาสาเหตุของสิ่งทั้งหลายได้ชัดแจ้ง 3.4) ด้านการวัดผลและประเมินผล จัดทำคู่มือระดับสถานศึกษาแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับเกณฑ์การประเมินของผู้เรียนให้ครูทราบ

Article Details

How to Cite
แย้มแสง อ., พระมหาอุดร อุตฺตโร, & สำเนียง ป. . (2022). แนวทางการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 143–156. https://doi.org/10.14456/jra.2022.39
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

คำพันธ์ มาตนอก. (2556). รูปแบบการบริหารจัดการโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ปฐมาวดี พัฒนสิงห์ และคณะ. (2560). การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ สุราษฎร์ธานี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 17(1), 57-67.

แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 82 ก, หน้า 8 .

พระครูสมุห์พิษณุ เสนามนตรี และพีระศักดิ์ วรฉัตร. (2562). แนวทางการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 19(3), 1-11.

พระธีระยุทธ อานนฺทมุนี (ทัศน์จันดา), วิทยา ทองดี และสมควร นามสีฐาน. (2563). การจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดาเนินชีวิตในสังคมของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. Journal of Modern Learning Development, 5(1), 145-158.

พอชาย พึงไชย. (2559). การบริหารงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(2), 344-354.

สมพงศ์ เกษมสิน. (2553). การบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2563. เอกสารลำดับที่ 17/2563. (อัดสำเนา).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุชีลา นีระพล, อินถา ศิริวรรณ และวิชชุดา หุ่นวิไล. (2561). การบริหารทรัพยากรบุคคลตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 5(3), 131-143.

Tyler, Ralph W. (1949). Basic Principia of Curriculum and Instruction. Chicago: the University of Chicago press.