แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง

Main Article Content

ธีรพจน์ แนบเนียน
ประเทือง ภูมิภัทราคม
อานนท์ เมธีวรฉัตร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ขั้นตอนที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 43 คน และอาจารย์ จำนวน 254 คน รวมทั้งสิ้น 297 คน โดยการเปิดตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ คุณภาพของเครื่องมือมีความเที่ยงเท่ากับ .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับสูงสุด คือ ด้านการคิดและวางแผนเชิงกลยุทธ์ รองลงมา คือ ด้านการกำหนดทิศทาง และด้านที่มีระดับต่ำสุด คือ ด้านการพัฒนาผู้นำในปัจจุบันและในอนาคต และ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง พบว่า 2.1) ด้านจักขุมา บูรณาการ ด้านการกำหนดทิศทาง ประกอบด้วย 3 แนวทาง และด้านการคิดและวางแผนเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วย 2 แนวทาง 2.2) ด้านวิธูโร บูรณาการ ด้านการคิดและวางแผนเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วย 1 แนวทาง ด้านการดำเนินงานให้สำเร็จ ประกอบด้วย 2 แนวทาง ด้านการสร้างความสัมพันธ์กับทุกภาคส่วนในองค์กร ประกอบด้วย 2 แนวทาง และด้านการพัฒนาผู้นำในปัจจุบันและในอนาคต ประกอบด้วย 3 แนวทาง 2.3) ด้านนิสสยสัมปันโน บูรณาการ ด้านการดำเนินงานให้สำเร็จ ประกอบด้วย 1 แนวทาง ด้านการสร้างความสัมพันธ์กับทุกภาคส่วนในองค์กร ประกอบด้วย 1 แนวทาง ด้านการสร้างพันธมิตร ประกอบด้วย 3 แนวทาง และด้านการสร้างจิตวิญญาณการเป็นสมาชิกขององค์กร ประกอบด้วย 3 แนวทาง

Article Details

How to Cite
แนบเนียน ธ., ภูมิภัทราคม ป. ., & เมธีวรฉัตร อ. . (2022). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง. วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 129–142. https://doi.org/10.14456/jra.2022.38
บท
บทความวิจัย

References

เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2562). รายงานการประกันคุณภาพภายใน ระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏด้านการประกัน คุณภาพการศึกษา.

ชีวิน อ่อนลออและสุชาติ บางวิเศษ. (2563). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล สำหรับนักบริหารการศึกษา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 10(1), 108-119.

ธันยธรณ์ คาวาซากิ. (2560). ทิศทางการบริหารมหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกสู่ประชาคมอาเซียนในทศวรรษหน้า. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธีรพจน์ แนบเนียน. (2562). รูปแบบการบริหารองค์กรสู่ความเป็นเลิศด้านงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

นันทัชพร ปานะรัตน์. (2561). ประสิทธิผลของการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปนิดา เนื่องพะนอม. (2560). กลยุทธ์การบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษา). วิทยาลัยครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พระประดิษฐ์ อภินนฺโท (นรินนอก). (2561). รูปแบบภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารเทศบาลตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชวชิรเมธี (วีระ วรปญฺโญ). (2558). รูปแบบภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงฆ์ไทย. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2562). ภาวะผู้นำเชิงพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.

สำนักงานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2561). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). เข้าถึงได้จาก http://plan.bru.ac.th

เหมือนฝัน นันทิยกุล. (2562). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารโรงเรียนเอกชน สู่ความเป็นเลิศในจังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

อนุธิดา ประเสริฐศักดิ์. (2563). โมเดลความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ การจัดการนวัตกรรมกับผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารองค์กรภาครัฐและเอกชน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

อัศนีย์ สุกิจใจ. (2560). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงวิชาการตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ ในจังหวัดนครสวรรค์. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อานนท์ เมธีวรฉัตร. (2561). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารของวิทยาลัยสงฆ์ สังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

Adair, J. (2010). Strategic Leadership: How to Think and Plan Strategically and Provide Direction. London: Pan Macmillan.

Mahmood, J. A., Muthana, M. S., & Mohammed, Q. H. (2021). The Impact of the Strategic Leadership in Strategic Learning Exploratory Research at Anbar University. Journal of Economics and Administrative Sciences, 27(128), 99-112.

Mansour, M. A., Mazen, J. A., & Samy, S. A. (2020). Abu-Naser Strategic Leadership Practices and their Relationship to Improving the Quality of Educational Service in Palestinian Universities. International Journal of Business Marketing and Management (IJBMM), 5(3), 11-26.