แนวทางการสร้างความสามัคคีของบุคลากรในสถานศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตอัจฉราลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 42 จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

ชนพณ สุขแจ่ม
พระราชวชิรเมธี
วินัย ทองมั่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการความสามัคคีของบุคลากรในสถานศึกษา สหวิทยาเขตอัจฉราลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 42 จังหวัดนครสวรรค์ และ 2) หาแนวทางการสร้างความสามัคคีของบุคลากรในสถานศึกษาตามหลัก
สาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตอัจฉราลัย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยวิจัยแบบผสมผสานเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้อำนวยการ รองผู้อำนวย ครูผู้สอนและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับและแบบสัมภาษณ์ กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ พรรณนาข้อมูลเพื่อแสดงสัดส่วนปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างในแต่ละหมวดหมู่โดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการความสามัคคีของบุคลากรในสถานศึกษาอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ สภาพความสามัคคีของบุคลากรบนพื้นฐานความดี สภาพความสามัคคีบนพื้นฐานความจริง และสภาพความสามัคคีบนพื้นฐานความงาม และ 2) แนวทางการสร้างความสามัคคีของบุคลากรในสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารควรให้ความเคารพซึ่งกันและกัน ให้โอกาสทุกคนได้รับการพัฒนา จัดทำงบประมาณบนหลักของประโยชน์ส่วนรวม มอบหมายงานตามความถนัดของบุคลากร

Article Details

How to Cite
สุขแจ่ม ช., พระราชวชิรเมธี, & ทองมั่น ว. . (2022). แนวทางการสร้างความสามัคคีของบุคลากรในสถานศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตอัจฉราลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 42 จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 157–168. https://doi.org/10.14456/jra.2022.40
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

กล้าศักดิ์ จิตต์สงวน. (2556). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 9(2), 58.

กัญญาณัฐ ฤทธิ์บำรุง. (2559). แนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตอัจฉราลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงค์ศักดิ์. (2556). อารยสามัคคี: พลังสามัคคีบนฐานความดี ความงาม ความจริง. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 11(3), 5-18.

ชุลี คณะสุวรรณ. (2546). ความพร้อมในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาสหวิทยาเขตสวี จังหวัดชุมพร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

นววิช นวชีวินมัย. (2557). ผลของกิจกรรมแนะแนวการปฏิบัติตนตามหลักสาราณียธรรมที่มีผลต่อการพัฒนาความสามัคคีของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 3(3), 162-171.

ประสิทธิ์ สุวรรณไตร. (2549). สภาพปัญหาและประสิทธิภาพผลการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พระครูนนทวีรวัฒน์ วีรธมฺโม (มีนุสรณ์). (2553). การบริหารงานเทศบาลตำบลตามหลักสาราณียธรรม 6 กรณีศึกษาเทศบาลตำบลปลายบาง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมโภชน์ สุวรรณรัตน์และคณะ. (2560). การสร้างความสามัคคีในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบด้วยหลักพุทธธรรม. วารสารสมาคมนักวิจัย, 22(2), 191-203.