รมณียสถาน: การบริหารจัดการสาธารณูปการของวัดในทางพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระครูปลัดวันชาติ วิชาโต (ยอดดำเนิน)
พระมหาไฮ้ ธมฺมเมธี (แซ่ฉั่ว)

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารมณียสถานการบริหารจัดการสาธารณูปการของวัดในทางพระพุทธศาสนา ผลการศึกษา พบว่า บริหารจัดการโดยเป็นการสั่งงาน การควบคุมงาน และการดำเนินงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดจุดมุ่งหมายของงานที่จะทำในองค์การให้ชัดเจน โดยมีวิสัยทัศน์และปฏิบัติงานในกิจกรรมต่าง ๆ ไปในทิศทางเดียวกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยอาศัยทฤษฎีการจัดการ ดังเช่น ทฤษฎีระบบของเดวิด อีสตันที่มองปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และปัจจัยนำออก และใช้หลักการ POSDC คือ การวางแผน การจัดองค์กร การจัดคนเข้าทำงาน การสั่งการ และการควบคุม การสาธารณูปการเป็นการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์เกี่ยวกับการพัฒนาวัดด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม เป็นการบำรุงรักษาและส่งเสริมวัดให้เป็นที่อำนวยประโยชน์แก่ประชาชนหรือสังคม โดยวัตถุมีประสงค์แบ่งออกเป็น 3 ประการ คือ (1) การดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด (2) การบูรณะและพัฒนาวัด และ (3) การก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะ เพื่อให้วัดมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนและเป็นศูนย์กลางของชุมชน ในการบริหารจัดการสาธารณูปการของวัดให้เป็นรมณียสถานเป็นบรรยากาศของพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องบรรยากาศ และสภาพแวดลอมอันเป็นรมณีย์เรียกว่า “สถานที่น่ารื่นรมย์” โดยที่วัดเป็นรมณียสถานจะต้องเป็นรูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของวัดมีหลักการพิจารณาว่า (1) ไม่ไกลนัก (2) ไม่ใกล้นักจากหมู่บ้าน (3) สะดวกแก่การคมนาคม (4) ผู้คนที่ประสงค์ไปเข้าถึงได้กลางวันไม่วุ่นวาย กลางคืนสงัดปราศเสียงอึกทึก (5) คนไม่พลุกพล่าน และ (6) เหมาะแก่การทำกิจหน้าที่ส่วนตัวควรเป็นที่หลีกเร้นได้ เจ้าอาวาสจะต้องบริหารจัดการงานสาธารณูปการตามทฤษฎีระบบ และมีการบริหารจัดการตามหลักการ POSDC เพื่อให้วัดเป็นรมณียสถานตามหลักสัปปายะ 4

Article Details

How to Cite
วิชาโต พ., & ธมฺมเมธี พ. . (2024). รมณียสถาน: การบริหารจัดการสาธารณูปการของวัดในทางพระพุทธศาสนา. วารสารวิจยวิชาการ, 7(1), 337–352. https://doi.org/10.14456/jra.2024.25
บท
บทความวิชาการ

References

กรมการศาสนา. (2550). หลักการบริหารและการจัดการวัดในยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ : กรมการศาสนา.

กองพุทธศาสนสถาน. (2554). การพัฒนาวัดสู่ความเป็นมาตรฐาน. กรุงเทพฯ : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

ธีรวุฒิ บุญยโสภณ และวีระพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. (2554). พื้นฐานการบริหารงานอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า.

พระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ). (2553). การคณะสงฆ์และการศาสนา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2550). พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปริยัติโสภณ (วรวิทย์ คงฺคปญฺโ). (2550). การพัฒนาพระสังฆาธิการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : บริษัท นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์ จำกัด.

วิเชียร วิทยอุดม. (2554). ทฤษฎีองค์การ. กรุงเทพฯ : บริษัทธีระฟิล์ม.

สุรพล สุยะพรหม และคณะ. (2555). ทฤษฎีองค์การและการจัดการเชิงพุทธ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสน่ห์ จุ้ยโต. (2551). องค์การและการจัดการ. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.