งานประเพณีบุญสลากภัตกับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม ของชาวตากฟ้า อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

พระมหาจักรกฤษณ์ ฐิตสุธี (เขาสมบูรณ์)
ภูนท สลัดทุกข์
พระราชรัตนเวที

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของงานประเพณีบุญสลากภัต 2) วิเคราะห์งานประเพณีงานบุญสลากภัตในมิติวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม และ 3) เสนอแนวทางในการพัฒนางานประเพณีบุญสลากภัตกับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมของชาวอำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์บูรณาการตามหลักพุทธธรรม ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูป/คน ประกอบด้วย ผู้แทนคณะกรรมการวัด ผู้แทนองค์กรภาครัฐ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนาและปราชญ์ชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการตีความ ผลการวิจัย พบว่า 1) บริบทของงานประเพณีบุญสลากภัต พบว่า เป็นกิจกรรมที่ประชาชนเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น การมีส่วนร่วมของประชาชน การสนทนาหรือประชุม การเข้าร่วมทำกิจกรรมของประเพณีงานบุญสลากภัต และสืบสานประเพณีสลากภัต 2) การวิเคราะห์งานประเพณีงานบุญสลากภัตอำเภอตากฟ้ากับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม พบว่า เป็นการแสดงออกซึ่งกิจกรรมความร่วมมือของบุคคลในสังคม กิจกรรมเหล่านี้ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคม และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกกับองค์กรภาคีเพื่อให้ ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนตรวจสอบการเสนอปรับปรุงพัฒนา ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมทางการเมือง และ 3) แนวทางในการพัฒนางานประเพณีบุญสลากภัตกับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม โดยบูรณาการตามหลักพุทธธรรม พบว่า การมีส่วนร่วมตามหลักอปริหานิยธรรมมีบทบาทสำคัญและเป็นพื้นฐานในกระบวนการมีส่วนร่วม เป็นต้นว่า การเข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือกัน การมีความพร้อมเพรียงกันลุกขึ้นแก้ไขปัญหา การยึดมั่นในหลักและอุดมการณ์ที่จะพัฒนางานบุญสลากภัตวัดตากฟ้า การเคารพนับถือปราชญ์หรือผู้นำในบ้านเมือง การร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมทางการเมืองที่ดีงาม และการดำรงรักษาความผาสุกและความพอเพียงให้คงอยู่อย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
พระมหาจักรกฤษณ์ ฐิตสุธี (เขาสมบูรณ์), สลัดทุกข์ ภ. ., & พระราชรัตนเวที. (2023). งานประเพณีบุญสลากภัตกับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม ของชาวตากฟ้า อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 6(2), 15–28. https://doi.org/10.14456/jra.2023.27
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2543). สื่อเพื่อชุมชน, การประมวลองค์ความรู้ การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

นิภาพรรณ พิพัฒน์. (2549). แนวทางการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนกับการพัฒนาวัฒนธรรมการเมือง: กรณีศึกษาแขวงเม็งรายจังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ฝนทิพย์ ไกรนรา. (2559). รูปแบบการมีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

พระครูนิเวศน์คุณากร (จำรัส พัดเงิน). (2553). การศึกษาประเพณีการทำบุญสลากภัตวัดตากฟ้า พระอารามหลวง อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูปลัดเกษฎา ผาทองและคณะ. (2562). บทบาทของพระสงฆ์กับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในพื้นที่ประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(6), 1662-1676.

พระพงษ์ศักดิ์ ฐิตเวที (อ่อนอุทัย). (2555). บทบาทขององค์กรภาครัฐกับการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนาในอำเภอเมืองปราจีนบุรีจังหวัดปราจีนบุรี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพศาล สรรสรวิสุทธิ์ และคณะ. (2551). การบริหารจัดการวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษาการบริหารจัดการประเพณีสลากภัตของหมู่บ้านหนองไทรตำบลเขาชายธง อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์. (รายงานการวิจัย). กระทรวงวัฒนธรรม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุภาวดี พรมพิราม. (2556). การจัดการประเพณีสลากภัตบ้านท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย อย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.