พุทธจริยธรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของเครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนาภาคเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด หลักการ และวิธีการทำงานของเครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนาภาคเหนือ 2) ศึกษาพัฒนาการและบทบาทในการทำงานของเครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนาภาคเหนือ และ 3) เสนอรูปแบบพุทธจริยธรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของเครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนาภาคเหนือ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ พระสงฆ์นักพัฒนาภาคเหนือ จากจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง จำนวน 19 ท่าน และการจัดสนทนากลุ่มเฉพาะกับกลุ่มพระสงฆ์นักพัฒนาภาคเหนือ และนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา จำนวน 5 ท่าน ผลการวิจัย พบว่า 1) เครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนาภาคเหนือ มีแนวคิด หลักการในการทำงาน คือ “พุทธธรรม นำปัญญา พัฒนาท้องถิ่น” วิธีการทำงานของเครือข่ายฯ พบว่า พระสงฆ์นักพัฒนาจะทำงานในพื้นที่ของตน มากกว่าทำงานร่วมกับเครือข่าย 2) พัฒนาการและบทบาทในการทำงานของเครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนาภาคเหนือ พบว่า แบ่งออกเป็น 4 ช่วง คือ (1) ก่อนก่อตั้งเครือข่าย (ก่อนปี พ.ศ. 2540) (2) ระหว่างปี พ.ศ. 2541-2550 (3) ระหว่าง พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2560 และ (4) ระหว่าง พ.ศ. 2561 ถึงปัจจุบัน มีบทบาทในการดำเนินการศึกษา วิจัย สร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการศึกษา มีการจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การสร้างและพัฒนาเครือข่าย พัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างเสริมสุขภาวะของประชากรและกลุ่มเปราะบาง ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาชุมชนอย่างมีส่วนร่วมบนฐานแห่งศาสนธรรมประยุกต์ พัฒนาสื่อสาธารณะอย่างสร้างสรรค์และมีการเผยแผ่ธรรมที่ทันสมัย ดำเนินการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ดำเนินกิจกรรมแก้ไขปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำ สิ่งแวดล้อม เสริมสร้างความยุติธรรมและสันติภาพ ตลอดถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และ 3) รูปแบบพุทธจริยธรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของเครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนาภาคเหนือ ผู้วิจัยได้สร้าง TRIPLE GEM MODEL และนำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา มาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ ได้แก่ แนวคิด KAP (Knowledge-Attitude-Practice) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals (SDGs) และก่อให้เกิดความสุขมวลรวมประชาชาติ Gross National Happiness (GNH)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กิตต์ ขวัญนาค. (2559). การศึกษาบทบาทการทำงานเป็นเครือข่ายของพระสงฆ์นักพัฒนาในจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม ภาควิชาสังคมสงเคราะห์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
เกียรติศักดิ์ ม่วงมิตร. (2554). การศึกษาและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายพระสงฆ์: กรณีศึกษาเครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนาชุมชนภาคเหนือ. เข้าถึงได้จาก https://www.gotoknow .org/posts/450215
คณะกรรมการกลุ่มผลิตชุดวิชาจริยศึกษา. (2546). เอกสารการสอนชุดวิชาจริยศึกษา หน่วยที่ 1-8. (พิมพ์ครั้งที่ 10). นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชลวิทย์ เจียรจิตต์. (2560). ศาสนากับการพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
ณัฐพล โสตถิรัตน์วิโรจน์. (2557). จริยศาสตร์ของการพัฒนา: บทสำรวจวิวาทะว่าด้วยการพัฒนา. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(2), 275-276.
ปรีชา เปี่ยมพงษ์สานต์. (2555). การรื้อถอนการพัฒนา ความยั่งยืนทางนิเวศ และความยุติธรรมทางสังคม: บทวิพากษ์เศรษฐศาสตร์การเมือง. กรุงเทพฯ : บริษัท ก. พล (1996) จำกัด.
ผานิตดา ไสยรส. (2559). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสังคมวิทยา ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่ : วนิดาการพิมพ์.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และคณะ. (2556). การพัฒนาระบบการบริหารจัดการและสร้างเครือข่ายองค์กรพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
วริยา ชินวรรณโณ และฐิตารีย์ ศิริศรีษรชัย. (2558). จริยธรรมในวิชาชีพนักการเมือง. นครปฐม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2561). การพัฒนาที่ยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 21). นครปฐม : วัดญาณเวศกวัน.