การจัดการความรู้เชิงพุทธบูรณาการในโรงเรียนคีรีศรีสาครวิทยา จังหวัดตราด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการความรู้ตามทฤษฎีตะวันตกและตามหลักพระพุทธศาสนา 2) ศึกษาสภาพปัญหาระบบการจัดการความรู้ในโรงเรียนคีรีศรีสาครวิทยา จังหวัดตราด และ 3) นำเสนอรูปแบบการจัดการความรู้เชิงพุทธบูรณาการในโรงเรียนคีรีศรีสาครวิทยา จังหวัดตราด ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 25 รูป/คน การสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 รูป/คน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดการความรู้ตามทฤษฎีตะวันตก คือการจัดการใช้ความรู้และประสบการณ์ในการดำเนินงาน เพื่อใช้ทรัพยากรให้เหมาะสมเกิดความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยทฤษฎีการจัดการแบบใหม่ ที่มีทฤษฎีการบริหารจัดการ ทฤษฎีการบริหารเชิงระบบ ทฤษฎีองค์การแห่งการเรียนรู้ อาศัยความรู้ของศาสตร์ต่าง ๆ ทำให้เกิดองค์ความรู้ที่ชัดเจนนำไปสู่เป้าหมาย โดยการนำหลักธรรมะมาบูรณาการ ส่งเสริมให้องค์กร เห็นถึงความสำคัญในการจัดการความรู้แบบสมัยใหม่ 2) ปัญหาทางการเรียนในรายวิชา พระพุทธศาสนาไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานด้านผู้เรียน และด้านบุคลากรที่สอน ปัญหาความเสี่ยง จากความเจริญด้านวัตถุในวัฒนธรรมตะวันตก ทำให้เยาวชนสมัยใหม่ไม่สนใจศาสนา และปัญหารูปแบบสังคมแห่งการเรียนรู้ และ 3) การจัดการความรู้เชิงพุทธบูรณาการในโรงเรียนคีรีศรีสาครวิทยา ประกอบด้วย 1) การจัดการการความรู้หลักสูตรเชิงพุทธบูรณาการ ที่ใช้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็น แกนกลาง เรียนรู้เนื้อหาวิชาความจริงของสรรพสิ่ง โลกและชีวิต แห่งความเป็นมนุษย์ วิถีธรรมชาติ 2) การจัดการการความรู้เชิงพุทธบูรณาการ บุคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครอง องค์กรเอกชนและชุมชน ศรัทธาในโรงเรียนทำหน้าที่ "บ่มเพาะคนดีคนเก่งและมีความสุข" 3) กิจกรรมการจัดการความรู้เชิงพุทธบูรณาการ 3.1) บูรณาการในการเรียนการ 3.2) บูรณาการในวิถีชีวิต พัฒนาคุณธรรม 3.3) บูรณาการไตรสิกขาทุกวัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
จริยา ปันทวังกูร และกิตติศักดิ์ ดียา. (2563). การจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษา. วารสาร วิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(3), 289-303.
เฉลิม ฟักอ่อน. (2562). การออกแบบการเรียนรู้อิงมาตรฐานตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 โดยเทคนิค Backward Design. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ประสานมิตร.
พระปลัดประดิสิษฐ์ ตาโภ (ประคองสาย). (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนวิถี พุทธในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาวิชาญ สุวิชาโน (บัวบาน), เกษม แสงนนท์. (2562). โรงเรียนวิถีพุทธ (Buddhist Oriented School) นวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์. พระนครศรีอยุธยา : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท (รุจิเวทย์) และพระมหากำพล คุณงฺกโร (มาลัย). (2558). พุทธบูรณาการ เพื่อการบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธ. (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมคิด บางโม. (2562). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.