การศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการการส่งเสริมความสามารถในการจัดการ เรียนรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

Main Article Content

ปิยะภรณ์ ปิยะแสงทอง
รสวลีย์ อักษรวงศ์
ชวลิต ชูกำแพง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการการส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปีการศึกษา 2563 จำนวน 500 คน สุ่มเขตพื้นที่การศึกษาแต่ละภาค 5 ภาค และสุ่มจับฉลากรายชื่อโรงเรียนตามขนาดของโรงเรียน แล้วทำการสุ่มจับฉลากครูในโรงเรียนแต่ละขนาด เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการตอบแบบสอบถาม มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันและความต้องการการส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}  = 3.94, S = 0.66 และ gif.latex?\bar{X}  = 4.21, S = 0.70) ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายด้านทั้ง 6 ด้าน คือ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนรู้ สื่อ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 2) ด้านบูรณาการความรู้และศาสตร์การสอนในการวางแผนและจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีปัญญารู้คิด และมีความเป็นนวัตกร 3) ด้านการดูแล ช่วยเหลือ และพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลตามศักยภาพ สามารถรายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้อย่างเป็นระบบ 4) ด้านการจัดกิจกรรมและสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนโดยตระหนักถึงสุขภาวะของผู้เรียน 5) ด้านการวิจัย สร้างนวัตกรรม และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน และ 6) ด้านการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์และมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาวิชาชีพ ซึ่งทุกด้านอยู่ในระดับมาก ซึ่งเมื่อจัดลำดับตามความต้องการการส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู ที่ต้องการได้รับการส่งเสริม คือ ด้านการวิจัย สร้างนวัตกรรม และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้นจึงควรมีกระบวนการสนับสนุนให้ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ด้านนี้ให้เพิ่มมากขึ้น

Article Details

How to Cite
ปิยะแสงทอง ป. ., อักษรวงศ์ ร. ., & ชูกำแพง ช. . (2023). การศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการการส่งเสริมความสามารถในการจัดการ เรียนรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารวิจยวิชาการ, 6(5), 13–28. https://doi.org/10.14456/jra.2023.100
บท
บทความวิจัย

References

กมล โพธิเย็น. (2559). การจัดการเรียนรู้เพื่อนําความสุขสู่ผู้เรียน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 13(2), 121-131.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

จริยา แซ่อึ้ง. (2563). การจัดการความรู้กับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานพันธกิจการศึกษา มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 6(3), 44-59.

ฐิติรัตน์ วสิษฐ์พลพงศ์ และวิโรจน์ อินทนนท์. (2559). ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้อย่างมีความสุขเชิงพุทธบูรณาการในการสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 7(2), 64-71.

ณฐพล อยู่เป็นสุขและคณะ. (2564). การพัฒนากิจกรรมเรียนรู้บูรณาการแบบสหวิทยาการโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(11), 135-146.

ตะวัน ไชยวรรณ และกุลธิดา นุกูลธรรม. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานการเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมความรู้ของผู้เรียนในโลกแห่งความจริง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(2), 251-263.

นวพร ชลารักษ์. (2558). บทบาทของครูกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 9(1), 64-71.

นันทกา วารินิน. (2557). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูสำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 7(2), 1-13.

นันธิดา ปฏิวรณ์ ภาณุพงศ์ บุญรมย์ และพงษ์ธร สิงห์พันธ์. (2564). รูปแบบการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์มจร, 9(5), 1927-1939.

มนตรี สังข์ชุม. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านระบบฐานข้อมูลนักเรียนรายบุคคล ของโรงเรียนอนุบาลระนอง. วารสารวิจัยเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้, 5(1), 17-33.

วรวรรณ อินทร์ชู และจิติมา วรรณศรี. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(6), 300-311.

วีนัส ภักดิ์นรา. (2564). การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 15(1), 8-19.

ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2559). การจัดการเรียนรูที่เนนความแตกต่างระหว่างบุคคลDifferentiated Instruction. วารสารศึกษาศาสตรมหาวิทยาลัยศิลปากร, 13(2), 65-75.

สมใจ กงเติม. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่บูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 23(2), 37-48.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอก. กรุงเทพฯ : สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

สำนักงานทดสอบทางการศึกษา สพฐ. (2560). รายงานผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติ ปีการศึกษา 2560 บทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. กรุงเทพฯ : ศูนย์ PISA สพฐ.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2556). คู่มือการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

สุกาญดา อยู่สังข์ และไตรรัตน์ สิทธิทูล. (2563). การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. วารสารราชพฤกษ์, 18(3), 129-138.

สุรศักดิ์ สุทธสิริและคระ. (2561). การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพในภาคเหนือตอนบน. วารสารชุมชนวิจัย, 12(1), 128-138.

ออมวจี พิบูลย์ และกิตติชัย สุธาสิโนบล, (2564). การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อการพัฒนาสมรรถนะข้ามพิสัย: กรณีศึกษาประเทศฟินแลนด์. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 3(3), 414-428.

อาทิตยา ปัญญาและคณะ. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(4), 223-235.

Akkerman, S.F. & Bakker, A. (2011). Boundary Crossing and Boundary Objects. Review of Educational Research, 81(2), 132-169.

Gulikers, J. & Oonk, C. (2019). Towards a Rubric for Stimulating and Evaluating Sustainable Learning. Sustainability, 11(4), 969.

Orphanides, A. G. (2012). Challenges in European higher education. Higher Learning Research Communications, 2(2), 3-7.