ทรรศนะและวิจารณ์บทบาททหารกับการเมืองไทยในอนาคตของประชาธิปไตย

Main Article Content

พระไกรสร ศรีรีภพ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิจารณ์บทบาททหารกับการเมืองไทยในปัจจุบัน 2) วิจารณ์บทบาททหารกับการเมืองไทยในอนาคต 3) ศึกษาทรรศนะของทหารไทยต่อปัจจัยในการทำรัฐประหาร 4) แนวทางในอนาคตของประชาธิปไตยไทย 5) ทัศนคติทางการเมืองและบริบทในอนาคตของทหารกับการเมืองไทย 6 ) ศึกษาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดการรัฐประหาร  บทความนี้ต้องการสื่อถึงวิจารณ์บทบาททหารกับการเมืองไทยในอนาคตของประชาธิปไตยไทย การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล จากเอกสารวิชาการ บทความ ตำรา หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ข้อมูลสำคัญได้ นำไปสู่ข้อสรุป ผลการศึกษา พบว่า กองทัพเผชิญ สภาวะวิกฤตเสื่อมศรัทธาต่อสังคมมาก ท่าทีของผู้นำกองทัพเจตนารมณ์ต้องการปรับกองทัพในการสากลในโลกสมัยใหม่ ในด้านพฤตินัยคือการแสดงออกในทีท่า ในด้านของแสดงตัวตนส่งเสริมประชาธิปไตย ต้องการกู้ศรัทธาต่อประชาชน เพื่อการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชน ที่มิใช่ในทางการเมืองแต่เป็นไปตามทางโรดแมป ในการจัดระเบียบโลกใหม่ โลกสมัยใหม่ของกระแสประชาธิปไตย ในการมีเสถียรภาพของความเป็นรัฐที่ดี ผู้นำกองทัพเริ่มก่อร่างทัศนคติวิสัยในการเริ่มปรับบริบททางการเมืองของทหาร อย่างชัดเจนสร้างความ สนใจไปที่ความเป็นอาชีพและกิจกรรมทางทหารมากขึ้น ในบทบาทการพัฒนาเศรษฐกิจให้กับประชาชน บริการสาธารณสุข บรรเทาสาธารณภัย ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติป่าและสิ่งแวดล้อม อย่างชัดเจน ท่าทีในลักษณะเช่นนี้ ไม่ต้องการที่จะมีตัวตนในการสร้างบทบทบาททางการเมือง ในอนาคตอันใกล้นี้ จากมิติทางบทเรียน 10 ปีที่ผ่านมา ด้านเหตุและปัจจัยโอกาสในการทำรัฐประหารจากกองทัพ ยากที่จะเกิดขึ้นจากการยุบอาณาจักรทางเศรษฐกิจของกองทัพ และรัฐเข้าควบคุมธุรกิจของทหาร โดยประมวลจาก การแสดงออกในทางปฏิบัติอย่างชัดเจนจากผู้นำกองทัพในอนาคตเสถียรภาพของการเมืองไทย 5-10 ปีข้างหน้า เมืองไทยจะเข้าสู่ความเป็นรัฐที่ดี

Article Details

How to Cite
พระไกรสร ศรีรีภพ. (2024). ทรรศนะและวิจารณ์บทบาททหารกับการเมืองไทยในอนาคตของประชาธิปไตย . วารสารวิจยวิชาการ, 7(1), 371–384. https://doi.org/10.14456/jra.2024.27
บท
บทความวิชาการ

References

กิติทัศน์ ผกาทอง. (2566). สังคมแห่งสิทธิเสรีภาพ. คณะรัฐศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และคณะ. (2552). หนึ่งศตวรรษ: รัฐธรรมนูญและรัฐประหารกับการเมืองสยามประเทศไทย จากกบฏ ร.ศ. 130 ถึงรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 หรือประชาธิปไตยกับอำมาตยาธิปไตย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์.

ณัฐพล ใจจริง และคณะ. (2558). พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับแนวพระราชดำริด้านการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

ประจักษ์ ก้องกีรติ. (2558). การเมืองวัฒนธรรมไทย : ว่าด้วยความทรงจำ/วาทกรรม/อำนาจ. นนทบุรี : ฟ้าเดียวกัน.

สุจิต บุญบงการ. (2556). รัฐและสังคมในบริบทประชาธิปไตย. คณะนิติศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุชิน ตันติกุล. (2557). รัฐประหาร พ.ศ.2490 จุดกำเนิดอำนาจนิยมของกองทัพรัฐประหาร. กรุงเทพฯ : มติชน.