การยกระดับนวัตกรรมชุมชนและพัฒนาชุมชนต้นแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยผลงานวิจัยและนวัตกรรม

Main Article Content

ชญาดา เข็มเพชร
วิรัช วทัญญู

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการยกระดับนวัตกรรมชุมชนและพัฒนาชุมชนต้นแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยผลงานวิจัยและนวัตกรรม เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ พื้นที่เป้าหมาย จำนวน 90 พื้นที่ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือ ผู้ให้ข้อมูลหลักคัดเลือกแบบเจาะจงจากหัวหน้ากลุ่ม/ประธานชุมชน/ปราชญ์เพื่อความมั่นคง หรือผู้ที่รับผิดชอบการดำเนินงาน รวมทั้งสิ้นจำนวน 66 คน วิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท และการวิเคราะห์แบบอุปนัย นำเสนอด้วยสถิติแบบพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า ชุมชนเป้าหมายสามารถยกระดับนวัตกรรมชุมชนได้ทั้งหมด จำนวน 90 พื้นที่ แบ่งเป็น นวัตกรรมที่สร้างขึ้นมาใหม่ จำนวน 68 พื้นที่ และยกระดับจากนวัตกรรมเดิม จำนวน 22 พื้นที่ เมื่อพิจารณาคุณสมบัติการเป็นนวัตกรรมชุมชน พบว่า คุณสมบัติที่พบมากที่สุดคือ มีการเรียนรู้และมีการทดลองปฏิบัติจริง จำนวน 90 พื้นที่ รองลงมาคือ เกิดจากความต้องการแก้ปัญหาจากสมาชิกในชุมชน จำนวน 79 พื้นที่ และสามารถประยุกต์ใช้ในชุมชน จำนวน 62 พื้นที่ คุณสมบัติที่พบน้อยที่สุดคือ การนำไปเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่น จำนวน 7 พื้นที่ และพบชุมชนที่มีการดำเนินการที่ดี จำนวน 6 ชุมชน คือ 1) วิสาหกิจชุมชนเกษตรกรผู้แปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านดอน จังหวัดสระบุรี 2) วิสาหกิจชุมชนสมุนไพรเกษตรอินทรีย์บ้านดงบัง จังหวัดปราจีนบุรี 3) ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลบ้านทาน จังหวัดเพชรบุรี 4) กลุ่มโคแม่พันธุ์บ้านหนองสระ จังหวัดพะเยา 5) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านสระวัง จังหวัดพะเยา และ 6) กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านหนองบัวดอนต้อน จังหวัดร้อยเอ็ด อธิบายได้ว่าเมื่อชุมชนได้รับการสนับสนุนนวัตกรรมที่ตรงกับความต้องการ สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาให้กับชุมชนได้จริง จึงทำให้เกิดยกระดับนวัตกรรมชุมชนที่มีความแตกต่างกันตามบริบท โดยมีปัจจัยความสำเร็จ คือ ด้านภูมิสังคม ด้านนวัตกรรม และด้านผู้นำและทีมงาน

Article Details

How to Cite
เข็มเพชร ช. ., & วทัญญู ว. . (2023). การยกระดับนวัตกรรมชุมชนและพัฒนาชุมชนต้นแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยผลงานวิจัยและนวัตกรรม . วารสารวิจยวิชาการ, 6(5), 347–360. https://doi.org/10.14456/jra.2023.121
บท
บทความวิจัย

References

โกเมศ เพชรโกมล. (2654, 4 กันยายน). คุณสมบัติการเป็นนวัตกรรมชุมชน. (ชญาดา เข็มเพชร, ผู้สัมภาษณ์).

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.

ชญาดา เข็มเพชร. (2562). โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลุ่มมวลชน โดยการยกระดับศักยภาพความเข้มแข็งของชุมชนด้วยวิจัยและนวัตกรรม. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร.

ประเวศ วะสี. (2550). การจัดการความรู้ : กระบวนการปลดปล่อยมนุษย์สู่ศักยภาพ เสรีภาพ และความสุข. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์กรีน–ปัญญาณ.

รื่น แจ้งกระจ่าง. (2564, 4 กันยายน). คุณสมบัติการเป็นนวัตกรรมชุมชน. (ชญาดา เข็มเพชร, ผู้สัมภาษณ์).

สมัย คูณสุข. (2564, 11 กันยายน). คุณสมบัติการเป็นนวัตกรรมชุมชน. (ชญาดา เข็มเพชร, ผู้สัมภาษณ์).

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2542). ทฤษฎีสังคมวิทยา การสร้าง การประเมินค่า และการใช้ประโยชน์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

สุนทร ธรรมเนียม. (2565, 16 พฤษภาคม). คุณสมบัติการเป็นนวัตกรรมชุมชน. (ชญาดา เข็มเพชร, ผู้สัมภาษณ์).

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2560). โครงการความเปลี่ยนแปลง “ชนบท” ในสังคมไทย : ประชาธิปไตยบนความเคลื่อนไหว. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

Baker, S. & Mehmood, A. (2015). Social innovation and the governance of sustainable places. Local Environment: The International Journal of Justice and Sustainability, 20(3), 321-334.

Cheuy, S. (2017). The Community Innovation Imperative. Retrieved from https://www.tamarackcommunity.ca/library/the-community-innovation-imperative.

Mani, A., et al. (2013). Poverty Impedes Cognitive Function. Science, 341(6163), 1169.

McMillan, D.W. & Chavis, D.M. (1986). Sense of community: A definition and theory. Journal of Community Psychology, 14(1), 6-23.

Seyfang, G. & Smith, A. (2007). Grassroots innovations for sustainable development: Towards a new research and policy agenda. Environmental Politics, 16(4), 584-603.