พุทธเกษตร สู้วิกฤต COVID-19 กับการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนในจังหวัดอุทัยธานี

Main Article Content

ประคอง มาโต
พระราชอุทัยโสภณ
พระครูอุทัยสุตกิจ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการทำพุทธเกษตรของครัวเรือน และพัฒนาสวนพุทธเกษตรเพื่อความมั่งคงทางอาหารของชุมชนในจังหวัดอุทัยธานี ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี จากการศึกษาเอกสารงานที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน จำนวน 16 รูป/คน สนทนากลุ่มย่อยกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน และปฏิบัติการทำกิจกรรมด้านการพัฒนาสวนพุทธเกษตร ผลการวิจัย พบว่า การทำพุทธเกษตรของครัวเรือน มีความเป็นไปได้ เนื่องจากพื้นที่จังหวัดอุทัยธานีส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำการเกษตร มีสภาพภูมิอากาศ การเรียนรู้ด้านการเกษตรแบบปราชญ์ชาวบ้าน ระบบการบริหารจัดการที่สามารถพัฒนาเป็นสวนพุทธเกษตรได้ ด้วยการดำเนินกิจกรรมถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ วิธีการทำงานโดยใช้การอบรม นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ประยุกต์ใช้ในการดำเนินการทำสวนพุทธเกษตรของครัวเรือน เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับชุมชน และครอบครัวต้นแบบที่สมัครเข้าร่วมจำนวน 3 ครอบครัวด้วยการคัดเลือกของนักวิจัย เป็นครอบครัวเข้าอบรม และทำสวนพุทธเกษตร พัฒนาเป็นสวนพุทธเกษตรต้นแบบของชุมชน ทำตามหลักวิธีการตามทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรผสมผสาน จนสามารถพึ่งพาตนเองและเป็นที่พึ่งของชุมชนด้านอาหารทางการเกษตรได้เป็นอย่างดี การทำเกษตรของครัวเรือนนั้นประกอบไปด้วย ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชหมุนเวียน ใช้สารอินทรีย์ ปลูกพืชผักเพื่อรับประทาน โดยมีความปลอดภัยและมั่งคงของครัวคนในครอบครัว เมื่อเหลือสามารถแจก หรือจำหน่ายเป็นรายได้ของครอบครัวได้ด้วย

Article Details

How to Cite
มาโต ป., พระราชอุทัยโสภณ, & พระครูอุทัยสุตกิจ. (2023). พุทธเกษตร สู้วิกฤต COVID-19 กับการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนในจังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิจยวิชาการ, 6(5), 361–374. https://doi.org/10.14456/jra.2023.122
บท
บทความวิจัย

References

กฤษณะ จุลพันธ์. (2563, 31 สิงหาคม). พุทธเกษตร สู้วิกฤต COVID-19 กับการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนในจังหวัดอุทัยธานี. (ประคอง มาโต, ผู้สัมภาษณ์).

จักรพันธ์ รอดอ่อง. (2563, 2 กันยายน). พุทธเกษตร สู้วิกฤต COVID-19 กับการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนในจังหวัดอุทัยธานี. (ประคอง มาโต, ผู้สัมภาษณ์).

ชีพ วิลพรรณ์. (2563, 9 กันยายน). พุทธเกษตร สู้วิกฤต COVID-19 กับการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนในจังหวัดอุทัยธานี. (ประคอง มาโต, ผู้สัมภาษณ์).

เช้า นพรัตน์เมธี. (2563, 8 กันยายน). พุทธเกษตร สู้วิกฤต COVID-19 กับการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนในจังหวัดอุทัยธานี. (ประคอง มาโต, ผู้สัมภาษณ์).

ประทีป ธนกิจเจริญ. (2563). สังคมไทยได้เรียนรู้อะไรจากวิกฤตโควิด19. สำนักงานคณะกรรมสุขภาพแห่งชาติ. เข้าถึงได้จาก https://www.nationalhealth.or.th/node/ 3097

ประทุม วิลพรรณ์. (2563, 8 กันยายน). พุทธเกษตร สู้วิกฤต COVID-19 กับการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนในจังหวัดอุทัยธานี. (ประคอง มาโต, ผู้สัมภาษณ์).

พระครูอุเทศวิสาลธรรม. (2563, 5 กันยายน). พุทธเกษตร สู้วิกฤต COVID-19 กับการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนในจังหวัดอุทัยธานี. (ประคอง มาโต, ผู้สัมภาษณ์).

พระชยานันทมุนี. (2561). หมู่บ้านพุทธเกษตร: รูปแบบการจัดการป่าและการส่งเสริมสัมมาชีพของเกษตรกรวิถีพุทธสู่ความยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดน่าน. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน เฉลิมพระเกียรติฯ.

สมใจ ธนูวงศ์. (2563, 3 กันยายน). พุทธเกษตร สู้วิกฤต COVID-19 กับการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนในจังหวัดอุทัยธานี. (ประคอง มาโต, ผู้สัมภาษณ์).

อนุ เชียวไสว. (2563, 15 กันยายน). พุทธเกษตร สู้วิกฤต COVID-19 กับการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนในจังหวัดอุทัยธานี. (ประคอง มาโต, ผู้สัมภาษณ์).