รูปแบบวิสาหกิจชุมชนกับแนวทางการวิจัยเชิงอนาคต กรณีศึกษา: การเพิ่มมูลค่าสมุนไพรและศักยภาพหมอพื้นบ้าน ในจังหวัดลำปาง

Main Article Content

พระครูสุตชยาภรณ์
จิรัฐิติกาล ศิลปสุวรรณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินการของวิสาหกิจชุมชนด้านสมุนไพรและหมอพื้นบ้าน 2) ศึกษานวัตกรรมการดำเนินงานเพื่ออนาคตในด้านการเพิ่มมูลค่าสมุนไพรและศักยภาพหมอพื้นบ้าน และ 3) วิเคราะห์รูปแบบการใช้นวัตกรรมของวิสาหกิจชุมชนและแนวทางการวิจัยเชิงอนาคต ด้านเพิ่มมูลค่าสมุนไพรและศักยภาพหมอพื้นบ้านในจังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างจากสมาชิกวิสาหกิจชุมชน จำนวน 118 คน โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน และสุ่มแบบบังเอิญ กลุ่มเป้าหมาย คือ หมอพื้นบ้าน ประธานวิสาหกิจชุมชน และสมาชิก ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการดำเนินการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีการแสวงหาความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในการผลิต มีการแนะนำเกี่ยวกับสินค้า มีความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ มีการกำหนดบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน มีการจัดผลิตภัณฑ์ที่มีสรรพคุณตามที่ระบุไว้ในฉลาก มีการปฏิบัติสูงสุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านหมอพื้นบ้านได้รู้จักใช้ยาสมุนไพรรักษาโรคให้ตรงกับอาการแห่งโรคของผู้ป่วย และมีวิธีแนะนำการดูแลสุขภาพให้กับคนป่วย 2) นวัตกรรมการดำเนินงานเพื่ออนาคตกลุ่มวิสาหกิจชุมชน มีความมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหา ผลิตสินค้าที่ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น การดำเนินการทางการตลาด และมีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยมีการจำหน่ายในงานแสดงสินค้าซึ่งมีการจัดโดยภาครัฐและเอกชน ด้านศักยภาพหมอพื้นบ้านได้มีการพัฒนาความรู้และพัฒนาศักยภาพทางการแพทย์แผนไทยให้มีศักยภาพเพียงพอที่จะได้รับการรับรองจากทางราชการ และ 3) รูปแบบการใช้นวัตกรรมของวิสาหกิจชุมชนและแนวทางการวิจัยเชิงอนาคตกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หมอพื้นบ้าน และสมาชิกได้มีการลงทุนสนับสนุนการวิจัย สร้างความสัมพันธ์อันดีกับปราชญ์ท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร และนักการตลาด ขอรับคำแนะนำในสิ่งที่พวกเขามีความรู้ หมอพื้นบ้าน ได้รับการยอมรับ ได้รับการเชิญเป็นวิทยากร และเป็นที่ปรึกษางานวิจัยผลิตภัณฑ์สมุนไพรและทำวิจัยเอง ได้รับการยกมาตรฐานสินค้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กษมาพร พวงประยงค์. (2556). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปและผลิตภัณฑ์ จังหวัดสมุทรสงคราม. ศิลปากรศึกษาวิจัย, 5(1), 108-120.

เขมิกา สงวนหุ่น และจิตรลดา รอดพลอย (2564). แนวทางการพัฒนาพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสมุนไพรพื้นบ้าน ตำบลบ้านทราย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 4(3), 64-84.

จรัสศรี โนมี และคณะ. (2562). การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์กลุ่มจักสานบ้านตาทรายมูล ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการรับใช้สังคม มทร.ล้านนา, 3(2), 25-32.

จินตนา กาญจนวิสุทธิ์. (2548). เส้นทางวิสาหกิจชุมชนเพื่อพัฒนาอาชีพและพึ่งตนเอง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จุมพล พูนภัทรชีวิน. (2525). การศึกษาในอนาคตและการวิจัยในอนาคต. วารสารรัฐสภา, 30(7), 66-70.

เทียนฉาย กีระนันท์. (2537). การวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วารุณี สุนทรเจริญนนท์. (2557). การสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการไม่ยากอย่างที่คิด. เข้าถึงได้จาก://www.amexteam.com/ resources/ helper/editor/upload/ knowledge/1/ 01_.pdf

วิชิต นันทสุวรรณ. (2544). แผนแม่บทการพัฒนาวิสาหกิจ. กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์.

สุภาภรณ์ พิศาลบุตร. (2550). การวางแผนและการจัดการโครงการ. กรุงเทพฯ : วิรัช เอ็ดดูเคชั่น บจก.

อาจารียา คำทูน. (2555). ผลของกระบวนการฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วมต่อความสามารถของผู้ประกอบการชุมชนในการเพิ่มมูลค่าสินค้าท้องถิ่น. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.