รูปแบบการมีส่วนร่วมของพุทธบริษัทในการส่งเสริมสถานะและบทบาทของภิกษุณีล้านนา

Main Article Content

สมพร ปินทะยา
พระครูสิริปริยัตยานุศาสก์
เทพประวิณ จันทร์แรง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานะและบทบาทของภิกษุณีในพระพุทธ ศาสนา 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมของพุทธบริษัทในการส่งเสริมสถานะและบทบาทของภิกษุณีล้านนา และ 3) เสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมของพุทธบริษัทในการส่งเสริมสถานะและบทบาทของภิกษุณีล้านนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบพหุกรณีศึกษา ใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบมีเกณฑ์จำนวน 34 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสังเคราะห์ประเด็นตามวัตถุประสงค์ ผลการวิจัย พบว่า 1) สถานะและบทบาทของภิกษุณีในพุทธกาลมีความรุ่งเรืองควบคู่ไปกับภิกษุสามารถบรรลุธรรมเป็นอริยบุคคล ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าและยอมรับจากสังคม มีสถานะ 3 ด้าน คือ สมณะสถานะ สถานะทางสังคม และสถานะตามกฎหมาย มีบทบาท 5 ด้าน ได้แก่ 1.1) ด้านการปกครอง 1.2) ด้านการศึกษาพระธรรมวินัย 1.3) ด้านการเผยแผ่ธรรม 1.4) ด้านการธำรงพระพุทธศาสนา และ 1.5) ด้านการสาธารณสงเคราะห์ 2) ภิกษุณีล้านนายังคงมีสมณะสถานะจากการบวชโดยคณะสงฆ์ศรีลังกา แต่ยังไม่มีสถานะนักบวชตามกฎหมายไทย มีส่วนร่วมตามบทบาท 5 ด้าน ดังนี้ 2.1) การปกครองใช้หลักพระธรรมวินัยและระบบอาวุโส 2.2) การศึกษาพระธรรมวินัย มีการเรียนธรรมศึกษา บาลีศึกษา อภิธรรมและวิปัสสนากัมมัฏฐาน 2.3) การเผยแผ่ธรรม ผ่านการพูดให้ฟัง ทำให้ดู มีความสุขให้เห็น 2.4) การธำรงพระพุทธศาสนาโดยการดูแลศาสนบุคคล ศาสนวัตถุ และศาสนาสถาน ส่งเสริมวัตรปฏิบัติเพื่อให้พุทธศาสนิกชนมีความเลื่อมใสและเกิดความสามัคคี 2.5) การสาธารณสงเคราะห์ โดยการเกื้อกูลผู้ยากไร้ในชุมชน มุ่งปฏิบัติ และ 3) รูปแบบการมีส่วนร่วมของพุทธบริษัทเสนอให้ทำงานในฐานะองค์กรเอกชน เน้น 5 ขั้นตอน คือ 1) การรับรู้ข่าวสาร 2) ร่วมตัดสินใจ 3) ร่วมดำเนินการ 4) ร่วมรับผลประโยชน์ 5) ร่วมประเมินผล ชุมชนรอบข้างมีส่วนร่วมในการถวายปัจจัย 4 และเข้าร่วมกิจกรรมของภิกษุณีล้านนา

Article Details

How to Cite
ปินทะยา ส., พระครูสิริปริยัตยานุศาสก์, & จันทร์แรง เ. (2023). รูปแบบการมีส่วนร่วมของพุทธบริษัทในการส่งเสริมสถานะและบทบาทของภิกษุณีล้านนา. วารสารวิจยวิชาการ, 6(5), 123–138. https://doi.org/10.14456/jra.2023.107
บท
บทความวิจัย

References

จำเนียร ทรงฤกษ์. (2544). ชีวประวัติพุทธสาวิกา. กรุงเทพฯ : หจก.ทิพยวิสุทธิ์.

เจษฎา บัวบาล. ภิกษุณีไทย: สิทธิสตรี-เสรีนิยม บนก้าวย่างอนุรักษ์นิยม. เข้าถึงได้จาก http:// www.Tcijthai.com/news/2017

พระภิกษุณีสุโพธา. (2555). ตอบดร.มาร์ติน พุทธวินัยถึงภิกษุณี. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์.

พระมหาชินวัฒน์ แสงชาตรี. (2548). ศึกษาวิเคราะห์บทบาทของภิกษุณีในสมัยพุทธกาล. (การศึกษาอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พลเผ่า เพ็งวิภาศ. (2561). การวิเคราะห์บทบาทของภิกษุณีในพระพุทธศาสนา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มนตรี สืบด้วง. (2551). แนวพินิจเชิงสตรีนิยมว่าด้วยผู้หญิงกับพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย 2539. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มูลนิธินิโรธาราม. (2563). นิโรธารามอารามแห่งความดับทุกข์. เชียงใหม่ : มูลนิธินิโรธาราม.

แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม. (2550). การศึกษาปัญหาเรื่องการเสื่อมสูญของภิกษุณีสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.