แนวทางการพัฒนาส่วนประสมการตลาดเพื่อพัฒนาการขายอาหารว่าง ในเขตจังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารว่าง 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารว่าง 3) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างระดับส่วนประสมการตลาดในการเลือกซื้ออาหารว่าง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการตลาดเพื่อพัฒนาการขายอาหารว่าง ในเขตจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้บริโภคอาหารว่าง ในเขตจังหวัดนครปฐม จำนวน 400 คน การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักที่เลือกอย่างเจาะจง จำนวน 9 คน สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ความถดถอยและสหสัมพันธ์แบบเชิงซ้อน การทดสอบค่าที ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ส่วนใหญ่ซื้อบริโภคเอง ตนเองมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อมากที่สุด ในการบริโภคหนึ่งวัน รับประทาน 2 ครั้ง รวม 2 ชิ้น ซื้อทุกวันในหนึ่งเดือน ใช้จ่ายโดยเฉลี่ย 51-100 บาทต่อครั้ง แหล่งที่ซื้อ คือ ร้านสะดวกซื้อ ช่วงเวลาที่ซื้อ หลัง 16.00 น. ประเภทของอาหารว่างที่นิยม คือ อาหารว่างหวาน ปัจจัยสำคัญที่ใช้ตัดสินใจซื้อ รสชาติอร่อย 2) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ ได้แก่ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านกายภาพ 3) ระดับส่วนประสมการตลาดในการเลือกซื้ออาหารว่าง มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับการตัดสินใจซื้ออาหารว่าง เพศ และอาชีพ มีระดับส่วนประสมการตลาดในการเลือกซื้อไม่แตกต่างกัน อายุ รายได้ และการศึกษามีระดับส่วนประสมการตลาดในการเลือกแตกต่างกัน และ 4) แนวทางการพัฒนาส่วนประสมการตลาด พบว่า ผลิตภัณฑ์ควรพัฒนารูปลักษณ์ บรรจุภัณฑ์ ให้ทันสมัย รสชาติอร่อย ราคา ย่อมเยาว์ เหมาะสมกับคุณภาพ ควรมีช่องทางการจัดจำหน่ายหลายช่องทาง การส่งเสริมการตลาดต้องมีการโปรโมท โปรโมชั่นจูงใจการซื้อตามความเหมาะสม บุคคลควรมีความรู้ในผลิตภัณฑ์ เข้าใจงานบริการ ด้านกระบวนการ รวดเร็ว ถูกต้อง ไม่ยุ่งยาก ด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม สะอาด ถูกสุขลักษณะ มีที่จอดรถ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). เอกสารเสริมสร้างการรับรู้และความเข้าใจ ระบบ e-Registration. เข้าถึงได้จาก https://www.dbd.go.th/download/regis_file/ eRe gistration /eRegist_ Usermanual_acknowledge_600818.pdf.
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2560). กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด. เข้าถึงได้จาก https:// bsc. dip.go.th/th /category/2017-10-27-07-51-56/2017-11-07-08-53-31.
โครงการอุทยานการอาชีพชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐม. (2563). ผลการดำเนินงานประจำปี 63. นครปฐม : โครงการอุทยานการอาชีพชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐม.
พรทิพย์ อินทรพรอุดม. (2558). แนวทางการพัฒนาทางการตลาดธุรกิจร้านอาหารคลีนฟู้ดในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). สำนักวิชาการจัดการ : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
รัตติญาภรณ์ พิศาลวราพงศ์. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการที่มีอิทธิพลต่อการเข้าใช้บริการร้านยศข้าวต้มของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วลีภรณ์ เจริญไว (2562). แนวทางการพัฒนาส่วนประสมการตลาดผลิตภัณฑ์ชุดที่นอนสำหรับเด็กในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
วัฒน์จิรชัย เวชชนินนาท. (2556). เอกสารประกอบการสอนวิชาหลักการตลาด. อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
สำนักงาน ก.พ. (2563). พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสที่เกี่ยวข้องกับ “การครองตน”. เข้าถึงได้จาก https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/page/
สำนักบริหารการทะเบียน จังหวัดนครปฐม.(2562). จำนวนประชากรรายอายุ. เข้าถึงได้จาก https://www.bora.dopa.go.th›tag/p73/
สุรชา บุญรักษา. (2557). แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อสร้างการรับรู้คุณค่าขนมไทยในจังหวัดสมุทรสาคร ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Yamane, T. (1973). Statistics: an Introductory Analysis. New York : Harper & Row.
iGITAL GEEK. (2562). 7P คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับ 4P. เข้าถึงได้จาก https://www. igitalgeek.com/blog.krongton.pdf.