รูปแบบการปกครองเพื่อความงดงามแห่งหมู่สงฆ์ของเจ้าอาวาสในจังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

พระมหาทวีศักดิ์ ตปสีโล (เฉลิมสิริโรจน์)
พระครูสิริปริยัติยานุศาสก์
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักอาจริยวัตรกับอันเตวาสิกวัตรในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) ศึกษาการปกครองเพื่อความงดงามแห่งหมู่สงฆ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาทและคณะสงฆ์ไทย และ 3) นำเสนอรูปแบบการปกครองเพื่อความงดงามแห่งหมู่สงฆ์ของเจ้าอาวาสในจังหวัดสุโขทัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลเอกสารจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา บทความและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก ภาคสนาม จากพระสังฆาธิการและนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาจังหวัดสุโขทัย และการสนทนากลุ่มย่อยกับผู้ทรงคุณวุฒิ และทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอรายงานแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า 1) หลักอาจริยวัตรในพระพุทธศาสนาเถรวาท คือ วัตรที่อันเตวาสิกพึงปฏิบัติต่อพระอาจารย์ และหลักอันเตวาสิกวัตร คือ วัตรที่อาจารย์พึงปฏิบัติต่ออันเตวาสิกซึ่งเป็นหลักที่เป็นแนวทางการปกครองหรือหลักการอยู่ร่วมกันของคณะสงฆ์สมัยพุทธกาล 2) สภาพการปกครองเพื่อความงดงามแห่งหมู่สงฆ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาทและคณะสงฆ์ไทย พบว่า นอกจากจะยึดถือการปกครองตามหลักพระธรรมวินัยแล้ว ยังปกครองตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ และกฎมหาเถระสมาคม  การปกครองรูปแบบนี้ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่เป็นทางการ โดยการสั่งการจากผู้มีอำนาจเจ้าคณะปกครอง จึงทำให้ลด ความสัมพันธ์ส่วนบุคลในฐานะอาจารย์และศิษย์ลงไป และ 3) แนวทางการปกครองเพื่อความงดงามแห่งหมู่สงฆ์ของเจ้าอาวาสในจังหวัดสุโขทัย เจ้าอาวาส คือ นิสสยาจารย์จะต้องปฏิบัติตามคุณสมบัติของอาจารย์ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีงามแก่อันเตวาสิก โดยใช้รูปแบบ 5 อ.โมเดล ในการอบรมและจัดระบบการปฏิบัติหน้าที่และความประพฤติของอันเตวาสิก ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการศึกษา ด้านอาจาระ ด้านการอนุเคราะห์ด้านอุปัฏฐาก และด้านอธิกรณ์ เพื่อสร้างศาสนทายาท ด้วยรูปแบบการปกครองอันงดงามที่กล่าวมา มีความเหมาะสมอย่างยิ่งและสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาได้จริง

Article Details

How to Cite
พระมหาทวีศักดิ์ ตปสีโล (เฉลิมสิริโรจน์), พระครูสิริปริยัติยานุศาสก์, & โคตรสุโพธิ์ พ. . (2024). รูปแบบการปกครองเพื่อความงดงามแห่งหมู่สงฆ์ของเจ้าอาวาสในจังหวัดสุโขทัย. วารสารวิจยวิชาการ, 7(1), 35–50. https://doi.org/10.14456/jra.2024.6
บท
บทความวิจัย

References

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2557). พฤติกรรมการบวชของคนไทย. (รายงานวิจัย). คณะสังคมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นภนาท อนุพงศ์พัฒน์. (2547). ผลกระทบของพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ต่อการปกครองคณะสงฆ์ไทย. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติ ศาสตร์). คณะอักษรศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวิรัตน์ อาจารสุโภ (สุวรรณโชติ). (2558) อุปัชฌายวัตร-สัทธิวิหาริกวัตร: แนวคิดและหลักการปฏิบัติเพื่อความสามัคคีในสังคมสงฆ์. วารสาร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 1(2), 161.

พระราชปริยัติกวี. (2562). การศึกษาสงฆ์สมัยพุทธกาล. ใน สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต 2562. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สยาม ราชวัตร. (2554). หลักปฏิบัติและการดาเนินชีวิตของพระสงฆ์สมัยพุทธกาล กรณีศึกษาข้อมูลในวัตตขันธกะ. (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.