การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยการสอนแบบโค้ชและการเรียนรู้แบบจินตวิศวกรรม เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ

Main Article Content

มัสยา รุ่งอรุณ
อนิรุทธ์ สติมั่น
ฐาปนีย์ ธรรมเมธา
เอกนฤน บางท่าไม้

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้การสอนแบบโค้ชและการเรียนรู้แบบจินตวิศวกรรม และ 2) ส่งเสริมทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการออกแบบและพัฒนานวัตกรรม ในปีการศึกษา 2565 จำนวน 15 คน ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความต้องการในการเรียนการสอนฯ 2) แบบสัมภาษณ์และสอบถามผู้เชี่ยวชาญ 3) รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานฯ 4) แผนการจัดการเรียนรู้ 5) บทเรียนออนไลน์ 6) แบบวัดความรู้ความสามารถในด้านการออกแบบและพัฒนานวัตกรรม 7) แบบวัดทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม 8) แบบประเมินนวัตกรรม และ 9) แบบประเมินรับรองรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้การสอนแบบโค้ชและการเรียนรู้แบบจินตวิศวกรรม เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู โดยมีขั้นตอนของรูปแบบ 8 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 เตรียมความพร้อม ขั้นที่ 2 สอนเนื้อหา ขั้นที่ 3 ศึกษาและปฏิบัติ ขั้นที่ 4 วิเคราะห์และออกแบบ ขั้นที่ 5 สร้างและพัฒนา ขั้นที่ 6 ทดสอบและทดลอง ขั้นที่ 7 ประเมิน/ปรับปรุง ขั้นที่ 8 ขั้นสรุปเนื้อหา พบว่า ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.28, S.D.=0.41) 2) ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานฯ เห็นได้ว่า ผู้เรียนที่เรียนด้วยรูปแบบ มีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการประเมินและรับรองรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานฯ ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิให้การรับรองว่า รูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.45, S.D.=0.35)

Article Details

How to Cite
รุ่งอรุณ ม. ., สติมั่น อ. ., ธรรมเมธา ฐ. ., & บางท่าไม้ เ. . (2024). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยการสอนแบบโค้ชและการเรียนรู้แบบจินตวิศวกรรม เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารวิจยวิชาการ, 7(1), 295–308. https://doi.org/10.14456/jra.2024.22
บท
บทความวิจัย

References

เมธี คชาไพร, ฤทธิชัย อ่อนมิ่ง, รัฐพล ประดับเวทย์ และสมสรรญก์ วงษ์อยู่น้อย. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างความรู้และสมรรถนะ ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา สำหรับนิสิตหลักสูตรการศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 10(ฉบับพิเศษ), 71-86.

กฤษณา สิกขมาน. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาการสื่อสารภาษาอังกฤษธุรกิจ โดยการใช้การสอนแบบ E-Learning. (รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ปรัชญนันท์ นิลสุข และปณิตา วรรณพิรุณ. (2556). การเรียนรู้แบบจินตวิศวกรรม. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 25(86), 33-37.

พรรณรัมภา ยิ่งเฮง และณัฐพล รำไพ. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานผ่านเทคโนโลยีคลาวด์ตามแนวคิดจินตวิศวกรรม เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา. วารสารชุมชนวิจัย, 14(3), 208-221.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิชุดา รันตเพียร. (2548). การเรียนการสอนบนเว็บขั้นนํา. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโสตทัศนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สันติ วิจักขณาลัญจ์. (2548). นวัตกรรมการเรียนการสอนโดยการเรียนรู้แบบยืดหยุ่น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 28(3), 32-39.

Duncan, M. (2011). The impact of transit-oriented development on housing prices in San Diego, CA. Urban Stud, 48(1), 101-27.

Kay, K. (2010). 21st Century Skills: Why They Matter, What They Are, and How We Get There. In Bellanca, J. & Brandt, R. (eds). 21st century skills: Rethinking how students learn. Bloomington : IN: Solution Tree Press.

Office of the Education Council. (2012). Educational Development Strategy for Citizenship Development 2010-2018. Bangkok : V.T.C. Communication.

Partnership for 21st century skills. (2009). Framework for 21st Century Learning. Washington. Retrieved from http://p21.org.

Prensky, M. (2001). Digital natives, digital immigrants. Horizon, 9(5), 1-6.

Sales, A. et al. (2011). Action research as a school-based strategy in intercultural professional development for teachers. Teaching and Teacher Education, 27(5), 911-919.