แนวทางการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 4

Main Article Content

พระประคุณวชิราภรณ์
พระศรีสมโพธิ
สามารถ สุขุประการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะบุคลากรของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด 2) ศึกษาการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 4 เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นบุคลากรของสำนักปฏิบัติปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด จำนวน 52 รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้เชี่ยวชาญ ที่เลือกแบบเจาะจง จำนวน 9 รูป/คน ใช้วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) บุคลากรมีสมรรถนะด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่เป็นกำลังสำคัญ ในการกำหนดทิศทาง มีสมรรถนะด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะในการสอนวิปัสสนา 2) เจ้าสำนักที่มีความรู้ความสามารถในสอนกัมมัฏฐานทั้งในด้านปริยัติและปฏิบัติ ส่งผลให้เกิดปฏิเวธแก่ผู้ปฏิบัติตาม เห็นความสำคัญของการปฏิบัติธรรมและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระวิปัสสนาจารย์ที่มีความรู้และประสบการณ์ดี ส่วนเจ้าหน้าที่ที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดีจัดการดี ย่อมเป็นกัลยาณมิตรต่อผู้มาปฏิบัติ และ 3) เจ้าสำนักต้องหมั่นแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เป็นประจำ พระวิปัสสนาจารย์ต้องทบทวนและฝึกฝนเทคนิคการสอนวิปัสสนา เจ้าหน้าที่ต้องเข้าอบรมเพิ่มทักษะในการบริหารจัดการอาคารและพัสดุ พัฒนาบุคลิกภาพอยู่เสมอ โดยใช้หลักความเป็นครูที่ดี 3 สุ คือ (1) พัฒนาด้านความรู้ ด้วยหลักสุวิชาโน เป็นผู้มีความรู้ในเรื่องพระกัมมัฏฐานและหน้าที่ของตน (3) พัฒนาด้านทักษะ ด้วยหลักสุสาสโน เป็นผู้สอนดี ถ่ายทอดดีมีปิยวาจา และ (3) พัฒนาด้านทัศนคติ ด้วยหลักสุปฏิปันโน มีความสุภาพเรียบร้อย สง่างามน่าศรัทธา น่าเคารพ น่าเชื่อถือ มีความสำรวม ระมัดระวังอากัปกิริยา โดยมีหลักสังคหวัตถุ 4 เป็นพื้นฐาน

Article Details

How to Cite
พระครูประคุณวชิราภรณ์, พระศรีสมโพธิ, & สุขุประการ ส. . (2024). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 4. วารสารวิจยวิชาการ, 7(2), 27–38. https://doi.org/10.14456/jra.2024.32
บท
บทความวิจัย

References

พรพรรณ โปรเทียรณ์. (2561). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานตามหลักภาวนา 4 ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูภาวนารัตนาภรณ์ (กำพล สิริภทฺโท). (2558). การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมของพระสังฆาธิการ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวิจิตรธรรมวิภัช (บุญเลิศ ปญฺญาวุโธ). (2561). การพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาถาวร ถาวงเมธี. (2563). คุณสมบัติของครูผู้สอนตามแนวพุทธธรรม. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 8(1), 273-288.

มหาเถรสมาคม. (2558). ระเบียบมหาเถรสมาคมว่าด้วยสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด พ.ศ. 2558. เข้าถึงได้จาก https://www.onab.go.th/th/file/get/file/ 20200813f02 e2bc94e788c8fc1aadcae53f93ba9204608.pdf

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2560). ถ้าสูงอายุเป็นก็น่าเป็นผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2564). จำนวนสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด พ.ศ.2564. เข้าถึงได้จาก http://www.onab.go.th/th/file/get/file/202106303ac340832f29c11538fbe2d6f75e8bcc104104.pdf

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ.(2551) แนวทางการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ด้วย Competency. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สุรีย์ มีผลกิจ และวิเชียร มีผลกิจ. (2545). พระพุทธกิจ 45 พรรษา. กรุงเทพฯ : บริษัท คอมฟอร์ม จำกัด.