การพัฒนาทักษะและเทคนิคการสอน Arduino & Robot ด้วยโปรแกรม Tinkercad สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5

Main Article Content

รณกิตติ์ สุภา
ธัญวดี กำจัดภัย
นวลพรรณ คมขำ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะและเทคนิคการสอน 2) พัฒนาปรับปรุงทักษะและเทคนิคการเรียนการสอนรายวิชา Arduino & Robot ด้วยโปรแกรม Tinkercad และ 3) ศึกษาความพึงพอใจการใช้งาน Tinkercad ในการเรียนจากการลงมือปฏิบัติจริง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จำนวน 29 คน ซึ่งได้จากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 1 ห้องเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและจุดประสงค์ ผลการวิจัย พบว่า 1) การศึกษาความต้องเป็นในการพัฒนาทักษะและเทคนิคการสอน Arduino & Robot ด้วยโปรแกรม Tinkercad สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 ได้แก่ ลงมือปฏิบัติจริงกรณีศึกษาร่วมกัน และข้อจำกัดจำนวนอุปกรณ์ Arduino 2) การพัฒนาเทคนิคการเรียนการสอนรายวิชา Arduino & Robot ด้วยโปรแกรม Tinkercad เปรียบเทียบความแตกต่างของผลลัพธ์ การจัดการเรียนการสอน เทคนิควิธีการสอนแบบทดลองด้านการเรียนการสอนนั้นเป็นการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ทดลองด้วยตนเองทดลองปัญหาจากเหตุการณ์จริง เทคนิควิธีการสอนแบบทดลอง
ได้ผลที่ดีเยี่ยมสำหรับนักเรียนที่มีความสนใจในการเรียนหรือกลุ่มนักเรียนที่มีความรู้พื้นฐานอยู่แล้วจึงสามารถปฏิบัติในการทดลองจริงในห้องเรียนได้ แตกต่างจากเทคนิคร่วมด้วยช่วยงานกลุ่มที่จะเน้นกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้เรียนมากขึ้นที่จะช่วยให้นักเรียนเข้าถึงสื่อได้ทุกคน 3) ศึกษาแบบสำรวจและความพึงพอใจการใช้งาน Tinkercad รายวิชา Arduino & Robot ในการเรียนการสอนจากการลงมือปฏิบัติจริงของผู้เรียน Tinkercad ออกแบบให้สมจริง เข้าใจง่ายสามารถแสดงผลลัพธ์ได้อย่างถูกต้อง สามารถลงมือปฏิบัติจริงได้โดยไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์จริงลดการขาดแคลนของบอร์ดและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สำคัญต่อการเรียนรู้ของนักเรียนได้จริง

Article Details

How to Cite
สุภา ร. ., กำจัดภัย ธ. ., & คมขำ น. . (2024). การพัฒนาทักษะและเทคนิคการสอน Arduino & Robot ด้วยโปรแกรม Tinkercad สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5. วารสารวิจยวิชาการ, 7(1), 167–182. https://doi.org/10.14456/jra.2024.14
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชาติชาย ม่วงปฐม. (2557). จิตวิทยาการอ่าน. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ณัฐพร นันทจิระพงศ์. (2563). การเสริมสร้างทักษะปฏิบัติการเชื่อมต่อระหว่าง Arduino MCU กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยซอฟต์แวร์ Autodesk Tinkercad (Arduino Simulator) รายวิชา CS3503 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2563. (อัดสำเนา)

ธานี จันทร์นาง. (2556). สะท้อนความคิดจากประสบการณ์การใช้กิจกรรม STEM Education ในห้องเรียน. สมาคมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, 19, 29-36.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2560). ทักษะ 7C ของครู 4.0. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วลิดา อุ่นเรือน. (2564). การเรียนรู้แบบร่วมมือกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลสำหรับผู้เรียน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 8(2), 124-136.

อับดุลเราะห์มาน อูมา. (2564). เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) เรื่อง การเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมวงจรไฟฟ้า โดยใช้รูปแบบการสอนแบบปฏิบัติการ (Laboratory Method) ผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Tinkercad) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา). ปัตตานี : โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เอียน สมิธ และอนงค์ วิเศษสุวรรณ์. (2550). การจัดการผู้เรียนเป็นสำคัญ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 18(2), 1-10.