การบริหารองค์การที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่การประถมศึกษา สำนักงานศึกษาธิการภาค 17
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการ บรรยากาศองค์การ และประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่การประถมศึกษา สำนักงานศึกษาธิการภาค 17 2) วิเคราะห์ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการ บรรยากาศองค์การ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่การประถมศึกษา สำนักงานศึกษาธิการภาค 17 และ 3) ศึกษาแนวทางการบริหารองค์การที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่การประถมศึกษา สำนักงานศึกษาธิการภาค 17 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจและเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่การประถมศึกษา สำนักงานศึกษาธิการภาค 17 จำนวน 379 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณแบบสเต็บไวซ์ ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาพรวมของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับสูง การบริหารจัดการอยู่ในระดับสูงมาก บรรยากาศองค์การอยู่ในระดับสูง และประสิทธิผลองค์การของโรงเรียนอยู่ในระดับสูง 2) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการ บรรยากาศองค์การ มีตัวแปรจำนวน 17 ตัวแปร จาก 74 ตัวแปร สามารถทำนายประสิทธิผลของสถานศึกษาได้ร้อยละ 90.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางการบริหารองค์การที่มีประสิทธิผล มี 5 แนวทาง คือ 3.1) การพัฒนาคุณภาพของบุคลากรของสถานศึกษา 3.2) การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษามุ่งสู่คุณภาพ 3.3) การติดตามประเมินผลความสำเร็จตามเป้าหมายของสถานศึกษา 3.4) การพัฒนาสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน และ 3.5) การส่งเสริมด้านเทคโนโลยีเพื่อใช้ในขบวนการจัดเรียนรู้การเรียนการสอนของสถานศึกษา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
แก้วมณี ปัทมะ. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จุฑามาศ ดีแป้น. (2564). การตัดสินใจของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(1), 14-27.
ฉัตรชัย ตันตรานนท์. (2562). การศึกษาแนวทางการพัฒนางานบริหารทั่วไปโรงเรียนวชิรวิทย์เชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ธีรศักดิ์ สารสมัคร และคณะ. (2563). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษา 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 5 (น.348-358). อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชธานี.
พัชชานันท์ โภชฌงค์ และวรกาญจน์ สุขสดเขียว. (2563). ศึกษาบรรยากาศองค์การกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 12(2), 174-188.
พิมพรรณ สุริโย. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กับสภาพการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 4(1), 71-77.
มยุรี วรรณสกุลเจริญ และชาญณรงค์ รัตนพนากุล. (2563). ประสิทธิผลขององค์การ. วารสารศิลปการจัดการ, 4(1), 193-204.
สาวิตรี ง้วนหอม. (2556). ปัจจัยความเสี่ยงกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติพ.ศ. 2561-2580 (ฉบับย่อ). เข้าถึงได้ จากhttps://drive.google.com/file/d/12scnWU n0XxmgoxpJ_b1CrLILbkMqATaF/view.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). เข้าถึงได้ จากhttps://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/ 2017/20170313-Education-Development-Plan-12.pdf.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2558). มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ. กรุงเทพฯ : พี.เอ. ลีฟวิ่ง.
เสกสันต์ รอดย้อย. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
อัจฉราภรณ์ ใจก้อนแก้ว และคณะ. (2562).การพัฒนาตัวแบบประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 13(2), 551-565.
Brown, W.B. & Moberg, D.J. (1980). Organizational Theory and Management: A Macro Approach. New York : John Wiley & Sons.
Hoy, W. K. & Ferguson, J. (1985). A Theoretical Frame work and Exploration of Organizational Effectiveness in School. Educational Administration Quarterly, 21(2), 121-122.
Hoy, W.K. & Miskel, C.G. (2001). Educational Administration, Theory, Research and Practices. (6th Edition). New York : Mcgraw Hall.
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.