การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนประถมศึกษา 2) ศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนโรงเรียนประถมศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้กับผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน และ 4) สร้างสมการพยากรณ์การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนโรงเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ครูและบุคลากรของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1 จำนวน 285 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการสร้างการตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียนอยู่ในระดับมาก ด้านความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนโรงเรียนประถมศึกษามีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ที่สามารถพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนโรงเรียนประถมศึกษามีจำนวน 3 ตัวแปร คือ การสร้างแรงจูงใจของผู้เรียนและผู้มีส่วนได้เสียในชุมชน (X4) การสร้างการตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน (X2) และการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน (X1) ที่ร่วมกันทำนายผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนโรงเรียนประถมศึกษา ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถอธิบายการแปรผันของระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนได้ร้อยละ 66.50 (R2 = 0.665)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กษมาพร ทองเอื้อ. (2563). การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กู้เกียรติ แดงสีดา. (2563). แนวทางการบริหารแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
จตุรภัทร ประทุม และคณะ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.
จิรภา อินนารี. (2563). การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2. (การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ทิพวรรณ สำเภาแก้ว. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
นิชาภา เจริญรวย และคณะ. (2566). การบริหารสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(5), 74-84.
พรทิพย์ เบาสูงเนิน. (2560). ตัวแปรที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารบัณฑิตวิจัย, 12(1), 107-122.
ภาณุพันธ์ พรมสวัสดิ์ และคณะ. (2564). สภาพการบริหารแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนปากช่องสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 31 จังหวัดนครราชสีมา. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 8 ประจำปี 2564 “สู่วิถีใหม่ ด้วยการวิจัยสุขภาพและการบริการ” (น. 1-14 ). นครราชสีมา : วิทยาลัยนครราชสีมา.
วริศรา อรุณกิตติพร. (2562). ปัจจัยการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศน์, 14(1), 139-149.
วิมาลย์ สีทอง. (2563). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสกลนคร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สพป.นครสวรรค์ เขต 1. (2564). ข้อมูลโรงเรียน นักเรียน และอัตรากำลัง ปีภาคการศึกษา ที่ 2 ปีการศึกษา 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.nsw1.go.th/.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์. (2564). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2564 จังหวัดนครสวรรค์. เข้าถึงได้จาก https://www.nswpeo.go.th/supervisor/cp/upload/pdf.
สุพัตรา ขันทอง. (2562). แนวทางในการพัฒนาประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Krejcie, R.V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.