การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง การแก้ปัญหากับกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ธัญวดี กำจัดภัย
อรพรรณ กำลังหาญ
ปวีณา แนววงศ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของนักเรียน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนและหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง การแก้ปัญหากับกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง การแก้ปัญหากับกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 และ 2/3 โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ จำนวนนักเรียนทั้งหมด 72 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) แผนการจัดการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) จำนวน 5 แผนการเรียนรู้ 3) แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง การแก้ปัญหากับกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ t-test for Dependent ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) จากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนการสอน ในรายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี 2 เรื่องการแก้ปัญหากับกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม พบว่า ต้องการให้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้มีความน่าสนใจ มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถให้นักเรียนลงมือปฏิบัติได้จริง 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่องการแก้ปัญหากับกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด แบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ ด้านบทบาทครูผู้สอน มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ gif.latex?\bar{X} = 4.7302, S.D.= .37801 ด้านบทบาทของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ gif.latex?\bar{X} = 4.6548, S.D.= .48534 และด้านกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ gif.latex?\bar{X} = 4.7480, S.D.= .44566

Article Details

How to Cite
กำจัดภัย ธ. ., กำลังหาญ อ. ., & แนววงศ์ ป. . (2024). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง การแก้ปัญหากับกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิจยวิชาการ, 7(3), 117–132. https://doi.org/10.14456/jra.2024.64
บท
บทความวิจัย

References

กนกพร ปรีชาปัญญากุล. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ (5E). (รายงานการวิจัย). สุราษฎร์ธานี : โรงเรียนบ้านคลองนามิตรภาพที่ 201 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญรชนก บุญส่ง. (2561). ชุดการสอนตามกระบวนการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้เรื่อง งานและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ปวีณวัสสา บำรุงอุดมรัชต์ และอัมพร วัจนะ. (2564). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับบทเรียนออนไลน์โดยใช้ Google Sites เรื่องสมดุลเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พิมชนก เจริญชีพ, วิทัศน์ ฝักเจริญผล และไพรัชน์ จารุจิระวงศ์. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เรื่องระบบหมุนเวียนเลือดด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับการใช้แบบจำลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 5(1), 26-39.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : บริษัทแอลทีเพรส จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). การปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด: แนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สุวธิดา ล้านสา. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้เพื่อส่งเสริม ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และจิตวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.