การพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจด้วยการ์ตูนชาดกตามแนวทางการสอนแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) สำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Main Article Content

พระอมร ธนาชัยกำจร
สุดากาญจน์ ปัทมดิลก
กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิ- ภาพของแผนการจัดการเรียนรู้การใช้วิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ร่วมกับการ์ตูนชาดก เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ก่อนและหลังเรียนของนิสิต และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน 18 รูป/คน จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การใช้วิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) 2) การ์ตูนชาดก จำนวน 3 เรื่อง พร้อมกิจกรรมการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบก่อน-หลังเพื่อวัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัย พบว่า 1) การใช้วิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ร่วมกับการ์ตูนชาดก เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนิสิต มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.50, S.D. = 0.77) และเมื่อนำไปทดลองใช้ พบว่า มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.10/80.93 2) ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนิสิตที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการจัดกิจกรรมเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.15, S.D. = 0.18)

Article Details

How to Cite
พระอมร ธนาชัยกำจร, ปัทมดิลก ส. ., & โตพิทักษ์ ก. . (2024). การพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจด้วยการ์ตูนชาดกตามแนวทางการสอนแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) สำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสารวิจยวิชาการ, 7(1), 67–84. https://doi.org/10.14456/jra.2024.8
บท
บทความวิจัย

References

โกวิทย์ โชติพินิจ. (2561). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจ โดยใช้การสอนอ่านแบบ MIA. สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน). คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

จุฑามาศ ศรีใจ. (2564). การพัฒนาทักษะการอ่านคำพื้นฐานภาษาไทย โดยใช้บทเรียนการ์ตูนร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

จุมพต อ่อนทรวง (2565, 25 พฤษภาคม). ปัญหาการเรียนรู้ของวิชาภาษาอังกฤษ. (พระอมร ธนาชัยกำจร, ผู้สัมภาษณ์).

ณรงค์กร มโนจันทร์เพ็ญ. (2564). ประเทศที่มีทักษะความสามารถภาษาอังกฤษสูงมาก-ต่ำมาก 2021 ไทยอยู่โซนรั้งท้าย. เข้าถึงได้จาก https://thestandard.co/countries-with-proficiency-in-english-rank

พระมหาวรัฏฐนน แสงศรี และคณะ. (2561). พัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้นิทานชาดกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดท่าตอน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(2), 129-140.

ฤทธิไกร ไชยงาม และคณะ. (2561). ปัญหาและแนวทางการแก้ไขเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนภาษาอังกฤษของชุมชนเรียนรู้ทางวิชาชีพครูผู้สอนภาษาอังกฤษในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(2), 7-17.

วิกรม จันทรจิตร. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยใช้รูปแบบการสอนอ่านแบบกว้างขวางร่วมกับการสอนกลวิธีการอ่าน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (การสอนภาษาอังกฤษ). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริพร ศรีจันทะ และธีรศักดิ์ อุปรมัย อุปไมยอธิชัย. (2564). 179 วิธีรวมสูตรการสอน ฉบับกระเป๋า. กรุงเทพฯ : บริษัท กู๊ดเฮด พริ้นติ้ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง กรุ๊ป จำกัด.

โสภิตา พลวิจิตร์. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้วิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน). คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ไอรดา ภู่เทศ. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณกรรมไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการใช้สมุดภาพการ์ตูน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 20(1), 611-626.

Imagine Forest. (February 23, 2022). Story Mountain Explained with Examples + Free Templates. Story Mountain. Retrieved from https://www.imagine forest .com/blog/story-mountain

Kalyanamitra Group. (2566). นิทานชาดก. Retrieved from https://www.kalyanamitra. org /th/chadok_list.php

Murdoch, G.S. (1986). A More Integrated Approach to the Teaching of English. English Teaching forum, 34(1), 9-15.