การพัฒนานักบริบาลชุมชนวิถีพุทธกับการรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล

Main Article Content

อนงค์นาฏ แก้วไพฑูรย์
ศศิกิจจ์ อ่ำจุ้ย
อาณัติ เดชจิตร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์บทบาทหน้าที่นักบริบาลชุมชนกับการรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล 2) พัฒนานักบริบาลชุมชนวิถีพุทธกับการรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล และ 3) ถอดบทเรียนการพัฒนานักบริบาลชุมชนวิถีพุทธกับการรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยคณะผู้วิจัยได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายในพื้นที่ตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์การรวบรวมข้อมูลโดย การวางแผน การปฏิบัติ ประเมินผล สะท้อนผลการขับเคลื่อนกิจกรรม ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) ศึกษาวิเคราะห์บทบาทหน้าที่นักบริบาลชุมชนกับการรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล พบว่า นักบริบาลชุมชนมีหน้าที่ 1.1) ด้านส่งเสริมสุขภาพ 1.2) ด้านป้องกันสุขภาพ 1.3)  ด้านการรักษาสุขภาพเบื้องต้น 1.4) ด้านการฟื้นฟูสุขภาพ 2) การพัฒนานักบริบาลชุมชนวิถีพุทธกับการรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบลพบว่า การพัฒนานักบริบาลชุมชนวิถีพุทธได้นำหลักภาวนา 4 มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนานักบาลชุมชนในการดูแลผู้สูงวัย 2.1) ด้านส่งเสริมสุขภาพ (กายภาวนา) ได้รับการพัฒนาทางกาย 2.2) ด้านการป้องกัน (สีลภาวนา) ได้รับการพัฒนาทางพฤติกรรม 2.3) ด้านการรักษา (จิตตภาวนา) ได้รับการฝึกพัฒนาทางจิตใจ 2.4) ด้านการฟื้นฟู (ปัญญาภาวนา) ได้พัฒนาทางปัญญาได้รับความรู้ในการฟื้นฟูร่างกายและจิตใจผู้สูงวัย ด้วยหลักการที่ถูกต้องเหมาะสม และ 3) ถอดบทเรียนการพัฒนานักบริบาลชุมชนวิถีพุทธกับการรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จมีการวางแผนที่ชัดเจน การมีส่วนร่วมของชุมชน ภาคีเครือข่าย ผู้นำท้องถิ่น/นักจัดการงานชุมชนด้านบริบาล การนำหลักธรรมหลักภาวนา 4 เข้ามาประยุกต์ในมิติสุขภาพได้ความรู้ ทัศนะคติ ทักษะปฏิบัติที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย

Article Details

How to Cite
แก้วไพฑูรย์ อ. ., อ่ำจุ้ย ศ. ., & เดชจิตร อ. . (2024). การพัฒนานักบริบาลชุมชนวิถีพุทธกับการรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล. วารสารวิจยวิชาการ, 7(2), 195–212. https://doi.org/10.14456/jra.2024.43
บท
บทความวิจัย

References

จุฬาภรณ์ โสตะ. (2554). แนวคิด ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. ขอนแก่น : สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาขอนแก่น.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2549). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สหธรรมิก.

พัณณ์ชิตา โยคะนิตย์, นรินทร์ สังข์รักษา. (2553). การถอดบทเรียนการเรียนรู้สุขภาพชุมชน ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 2(1), 132-140.

สมตระกูล ราศิริ, สุชาดา อินทรกำแหง ณ ราชสีมา และธิติรัตน์ ราศิริ. (2558). บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ, 7(2), 80-97.

พระสุเว่ย คุณรตโน (น้อย) และคณะ.(2565).การประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 เพื่อการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตของชุมชนตำบลปกาสัย อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(1), 235-236.

อนันต์ อนันตกูล. (2560). สังคมสูงวัย...ความท้าทายประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา.

Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer. (3rd ed.). Melbourne, Australia : Deakin University Press.