การพัฒนาพื้นที่การท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพื้นที่การท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ 2) นำเสนอพื้นที่การท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ และ 3) พัฒนาพื้นที่การท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ โดยรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพกับเชิงปฏิบัติการ และการวิจัยเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มกับพระสงฆ์ ผู้นำชุมชนในพื้นที่ ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้อาวุโส กลุ่มชาวบ้าน และกลุ่มจิตอาสาที่ทำงานในพื้นที่ จำนวน 40 รูป/คน โดยเลือกแบบเจาะจง และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ชุดกิจกรรมออกแบบรูปแบบ วิธีการการพัฒนาพื้นที่ การพัฒนากิจกรรม การส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยทำการเลือกชุมชนเมืองพระชนกจักรี (อำเภอหนองฉาง) จังหวัดอุทัยธานี ผลการวิจัย พบว่า 1) พื้นที่การท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ จังหวัดอุทัยธานี ประกอบด้วย ทรัพยากรการท่องเที่ยวทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนทรัพยากรทางการท่องเที่ยวที่มีอยู่ภายในชุมชนของตนเอง งานประเพณีที่มีชื่อเสียงที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทุกปี และกิจกรรมทำบุญงานเดือนสามสืบสานประเพณีชาวอู่ไท อำเภอหนองฉาง 2) จากการสำรวจจึงได้นำเสนอพื้น ณ งานบุญเดือนสามสืบสานประเพณีวิถีชาวอู่ไท เป็นพื้นที่การแสดง พื้นที่การท่องเที่ยววัฒนธรรมวิถีพุทธและพื้นที่การทำบุญเป็นพื้นที่แสดงอัตลักษณ์ทางด้านพระพุทธศาสนา และ 3) การพัฒนาพื้นที่การท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ โดยมีการร่วมมือกันระหว่างวัด และชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาพื้นที่งานบุญเดือนสามสืบสานประเพณีวิถีชาวอู่ไท เป็นพื้นที่การแสดงวัฒนธรรมวิถีพุทธ เช่น พื้นที่การทำขวัญข้าว พื้นที่การทำขวัญนาคหมู่ พื้นที่ประกวดขบวนรถแห่นาค ขบวนรำหน้านาค พื้นที่ประกวดสำหรับคราวหวาน ฯลฯ และพื้นที่ทำบุญ เช่น สักการะรอยพระพุทธบาทจำลอง ปิดทองไหว้พระ ฯลฯ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2559). วัฒนธรรม วิถีชีวิตและภูมิปัญญา. นครปฐม : บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด.
จังหวัดอุทัยธานี. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดอุทัยธานี พ.ศ. 2561-2565 (ฉบับทบทวน). (อัดสำเนา)
เดชชาติ นิลวิเศษ และมณีวรรณ ผิวนิ่ม. (2557). การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเป็นแหล่งเรียนรู้ในวัดบวร นิเวศวิหาร. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(3), 889-904.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ : เพรส แอนด์ดีไซน์.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น) และคณะ. (2554). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวประเภทวัดในกรุงเทพมหานคร. ประชาคมวิจัย, 16(95), 51-60.
รสิกา อังกูร และคณะ. (2549). ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 19(1), 79-88.