รูปแบบการจัดการเรียนการสอนศิลปะสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ระยะที่ 1: การทบทวนวรรณกรรมแบบบรรยาย

Main Article Content

กิตติ์นิธิ เกตุแก้ว
ขนบพร แสงวณิช

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการจัดการเรียนการสอนศิลปะสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ระยะที่ 1 และ 2) สังเคราะห์การจัดการเรียนการสอนศิลปะสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ระยะที่ 1 ผลการศึกษาพบว่า การจัดการเรียนการสอนศิลปะสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ระยะที่ 1 ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศเน้นในเรื่องของการช่วยกระตุ้นการรับรู้และความทรงจำ การบำบัดอารมณ์ และการเห็นคุณค่าในตนเอง และหลังจากการใช้กิจกรรมศิลปะนั้นจะช่วยฝึกระบบประสาทและสมอง ลดความเครียด ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก เกิดความภูมิใจในตนเอง และเห็นคุณค่าในตนเองมากขึ้น ส่วนการจัดการเรียนการสอนศิลปะสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ระยะที่ 1 หรือ REST ซึ่งเป็นผลมาจากการสังเคราะห์ มีรายละเอียดดังนี้ 1) R: Recognition & Memory Stimulating เป็นการกระตุ้นการรับรู้ และความทรงจำ 2) E: Emotional Learning เป็นการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถทางอารมณ์และสังคม 3) S: Self-Esteem Rising เป็นการส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเอง และ 4) T: Time & Test มีการใช้เวลาทำกิจกรรม 1 ชั่วโมง-1 ชั่วโมง 30 นาที เป็นประจำและผู้ร่วมกิจกรรมมีการสำรวจตัวเองหลังจากทำกิจกรรม

Article Details

How to Cite
เกตุแก้ว ก., & แสงวณิช ข. . (2024). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนศิลปะสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ระยะที่ 1: การทบทวนวรรณกรรมแบบบรรยาย. วารสารวิจยวิชาการ, 7(2), 389–406. https://doi.org/10.14456/jra.2024.54
บท
บทความวิชาการ

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). โครงการ Happy Home กิจกรรมวาดภาพระบายสีลับสมอง ป้องกันอัลไซเมอร์ และโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุพร้อมเกร็ดความรู้เรื่องศิลปะ. เข้าถึงได้จาก https://www.dop.go.th/th/gallery/1/3834

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สิทธิและสวัสดิการผู้สูงอายุ. เข้าถึงได้จาก https://www.dop.go.th/th /know/15/646

ขนบพร แสงวณิช. (2563). การพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมความสามารถในการรับมือกับภาวะสมองเสื่อมและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยบูรณาการศิลปศึกษากับประสาทวิทยา. (รายงานการวิจัย). ภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัชวาล วงค์สารี และศุภลักษณ์ พื้นทอง. (2561). ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ : การพยาบาลและการดูแล ญาติผู้ดูแล. วารสาร มฉก. วิชาการ, 22(43-44), 166-179.

ชัชวาล วงค์สารี. (2561). บทบาทพยาบาลกับการส่งเสริมครอบครัวในการชะลอภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้นในผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 4(2), 102-111.

ทัสณี ฆ้องคำ. (2564). รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA). เข้าถึงได้จาก https://inskru.com/idea/-Mpb6yBgQYcesCBtBhKA

นปภัช กันแพงศรี และจิราพร เกศพิชญวัฒนา. (2556). ผลของโปรแกรมกิจกรรมศิลปะต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมระยะแรก. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 20(2), 163–178.

ภรัญวิทย์ อนันต์ดิลกฤทธิ์. (2564). ภาวะสมองเสื่อม. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 15(37), 392-398.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2563). 8 โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ. เข้าถึงได้จาก https://thaitgri.org/?p=39092

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2563). ภาวะสมองเสื่อม. เข้าถึงได้จาก https://thaitgri.org/?p=38965

วิชช์ เกษมทรัพย์. (2564). ไทยเตรียมพร้อมหรือไม่กับการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์. เข้าถึงได้จาก https://op.mahidol.ac.th/ga/posttoday-22-2/

ศุภธิดา สรศักดิ์. (2566). ศิลปะฝึกสมองกระตุ้นความจำและออกกำลังกายกล้ามเนื้อมือ. เข้าถึงได้จาก https://www.cherseryhome.com/content/5768/ศิลปะฝึกสมองกระตุ้นความจำและออกกำลังกายกล้ามเนื้อมือ-รพผู้สูงอายุ-chersery-home

สุรพงษ์ มาลี. (2561). เตรียมความพร้อมกำลังคนภาครัฐสู่สังคมสูงอายุอย่างไร?. วารสารข้าราชการ, 60(4), 9-11.

อัญชลี ทองเอม. (2561). การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(3), 185-199.

อายุวัฒน์ เนอร์สซิ่ง โฮม. (2553). วาดภาพระบายสี กิจกรรมกระตุ้นสมองของผู้สูงอายุ. เข้าถึงได้จาก https://www.aryuwatnursinghome.com/healthy-tips/วาดภาพระบายสี/

Alzheimer’s Disease Association. (2019). Impact of the Arts & Dementia Programme. Retrieved from https://dementia.org.sg/wp-content/uploads/2021/03/Press-Release-ADA-Releases-Impact-of-the-Arts-and-Dementia-esearch_Final_31219.pdfnthology

Alzheimer's Disease International. (2014). Dementia in the Asia Pacific Region. Retrieved from https://www.alzint.org/resource/dementia-in-the-asia-pacific-region/

Bonk, J. & Graham, C., (2006). The Handbook of Blended Learning: Global Perspectives, Local Design. (1st ed). San Francisco : John Wiley & Sons.

Harvest International School. (n.d.). 10 Smart Self-Study Tips for Students to Improve Learning. Retrieved from https://www.harvestinternationalschool.in/10-smart-self-study-tips-for-students-to-improve-learning/

Heick, T. (2021). Question-Based Learning: A Definition. Retrieved from https://www.teachthought .com/learning/what-is-question-based-learning/

Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. (2566). ลดเลิกพฤติกรรมนำสู่ “โรคสมองเสื่อม”..ถึงวัยชรา ต้องเป็นทุกคนไหม?. เข้าถึงได้จาก https://www.hfocus.org/content/2023/03/27233

Hrastinski, S. (2019). What Do We Mean by Blended Learning?. Tech Trends, 63, 564–569.

Levenberg, K., George, D. R. & Lokon, E. (2021). Opening Minds through Art: A Preliminary Study Evaluating the Effects of a Creative-Expression Program on Persons Living with Dementia and Their Primary Care Partners. Dementia : The international journal of social research and practice. Dementia (London), 20(7), 2412-2423.

Lokon, E., Sauer, P.E., & Li, Y. (2019). Activities in dementia care: A comparative assessment of activity types. Dementia (London), 18(2), 471-489.

Museum of Contemporary Art. (2020). Artful: Art and dementia report. Retrieved from https://www.mca.com.au/files/documents/MCA_Artful_Report_July_2020.pdf

Oxford Learning Centres. (2015). Best Methods of Self Study for Students. Retrieved from https://www.oxfordlearning.com/best-methods-of-self-study-for-students/

Senior Living. (2022). Art Therapy for Seniors with Dementia. Retrieved from https://www.anthologyseniorliving.com/blog/art-therapy-for-seniors-with-dementia