การพัฒนาแอพพลิเคชั่นส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3อ2ส สำหรับผู้สูงอายุ จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

นัชชา ยันติ
สุวัฒน์ ศิริแก่นทราย
ศศิธร ตันติเอกรัตน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนาแอพพลิเคชั่นส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพสุขภาพตามหลัก 3อ2ส สำหรับผู้สูงอายุ และ 2) ศึกษาผลในการส่งเสริมความรู้โดยการใช้แอพพลิเคชั่น มีรูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 10 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย บุคลากรทางสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ ในอำเภอคคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ที่ยินดีเข้าร่วมการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ การสนทนากลุ่ม และการวิจัยเชิงปริมาณ มี 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การพัฒนาแอพพลิเคชั่นส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3อ2ส สำหรับผู้สูงอายุ และ 2) ศึกษาผลการใช้แอพพลิเคชั่นส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3อ2ส โดยใช้แบบวัดความรู้และวัดความพึงพอใจในการใช้แอพพลิเคชั่นโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีความเชื่อมั่น 0.87 นำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 45 คน เป็นตัวแทนของประชากรผู้สูงอายุที่ใช้สมาร์ตโฟนในอำเภอคคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับ 3อ2ส ก่อนและหลังการใช้แอพพลิเคชั่น โดยใช้สถิติ Paired T-test ที่ระดับนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาแอพพลิเคชั่นส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพสุขภาพตามหลัก 3อ2ส สำหรับผู้สูงอายุ พบว่า รูปแบบการนำเสนอข้อมูลความรู้ 3อ2ส ควรมีเนื้อหาไม่มากจนเกินไป มีสื่อวิดีโอ แอพพลิเคชั่นควรใช้ง่ายไม่ซับซ้อน สีสันสดใส ตัวหนังสือขนาดใหญ่  มีสัญลักษณ์ที่เป็นรูปภาพประกอบความเข้าใจ สำหรับผลในการส่งเสริมความรู้โดยการใช้แอพพลิเคชั่นในกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ภายหลังจากการใช้แอพพลิเคชั่นส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ2ส สำหรับผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างมีความรู้แตกต่างจากก่อนใช้แอพพลิเคชั่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในการใช้แอพพลิเคชั่นระดับมาก

Article Details

How to Cite
ยันติ น., ศิริแก่นทราย ส. ., & ตันติเอกรัตน์ ศ. . (2024). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3อ2ส สำหรับผู้สูงอายุ จังหวัดปทุมธานี . วารสารวิจยวิชาการ, 7(3), 87–104. https://doi.org/10.14456/jra.2024.62
บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก https://www.dop.go.th/th/know/15/926.

กองโรคไม่ติดต่อ. (2566). จำนวนและอัตราตายด้วย 5 โรคไม่ติดต่อ (ปี 2560 - 2564). เข้าถึงได้จาก http:// www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id= 14480&tid=32&gid=1-020

จันทร์จิราพร ทองประสิทธิ์ และทิพยา จินตโกวิท. (2563). พฤติกรรมของผู้สูงอายุในการใช้แอปพลิเคชั่นบนสมาร์ตโฟน. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 3(1), 118-129.

ฉัตรศิริ วิภาวิน และนันทิยา เรือนกองเงิน. (2565). การศึกษาความต้องการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในตำบลขี้เหล็กและสลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 23(1), 127-139.

เฉลิมศักดิ์ บุญประเสริฐ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้แอปพลิเคชั่นไลน์ของผู้สูงอายุ. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ดวงทิพย์ เจริญรุกข์. (2563). พฤติกรรมการใช้และการยอมรับนวัตกรรมสื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่มผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 24(2), 229-237.

ทัศพร ชูศักดิ์, นัชชา ยันติ, ศศิธร ตันติเอกรัตน์, และนาตยา ดวงประทุม. (2566). ประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดเตียงแบบมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจยวิชาการ, 6(2), 87-102.

ธัญพร หล่อชัยวัฒนา. (2561). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 12(2), 94-104.

นิพา ศรีช้าง และลวิตรา ก๋าวี. (2560). รายงานการพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

พวงรัตน์ จินพล, มานิตา เจอบุญ, จุฑาภรณ์ ลิ่มสุวรรณมณี, และจริยาวดี วิเชียรเชื้อ. (2564). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการดูแลผู้สูงอายุด้านโภชนาการ เพื่อสนับสนุนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีพื้นที่เทศบาลตำบลชะมาย จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 14(1), 40-52.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (2565). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

รัชชานนท์ ศรีสุภักดิ์, ประภากร ศรีสว่างวงศ์, ปภาวี รัตนธรรม และพัชระ นาเสงี่ยม. (2562). นวัตกรรมโมบายแอปพลิเคชั่นเพื่อการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลสำหรับผู้สูงอายุ. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). ห่างไกลโรค NCD ด้วยหลัก 3อ2ส. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/2GauXgv

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2565). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. เข้าถึงได้จาก http://www.nso.go.th/sites/2014en/Survey/social/domographic/ OlderPersons/2021/fullreport_64.pdf.

อุทัยวรรณ พงษ์บริบูรณ์. (2563). สถานการณ์ผู้สูงอายุประเทศไทย : ปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิรน์เอเชีย, 10(2), 46-58.

Best, John. (1977). Research in Education. New Jersey: Prentice Hall Inc.

Bloom, B.S. (1975). Taxonomy of Education. New York : David McKay Company Inc.

Embarak, F., Ismail, NA. & Othman, S. (2021). A systematic literature review: the role of assistive technology in supporting elderly social interaction with their online community. Journal of Ambient Intelligence and Humanized Computing, 12(233), 7427-7440.

Li G., Jin C., Zhao, B. & Wu, B. (2022). Smartphone Use, Technology Affordance for Healthcare and Elders' Life Satisfaction. Frontiers in Public Health, (10). https://doi.org/10.3389/fpubh.2022.861897

Wilson, S. A., Byrne, P., Rodgers, S. E., & Maden, M. (2022). A Systematic Review of Smartphone and Tablet Use by Older Adults with and without Cognitive Impairment. Innovation in aging, 6(2), igac002. https://doi.org/10.1093/geroni/igac002. eCollection 2022.