การพัฒนาปัจจัยส่งเสริมจิตอาสาตามหลักพุทธธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการพัฒนาปัจจัยส่งเสริมจิตอาสา 2) พัฒนาการพัฒนาปัจจัยส่งเสริมจิตอาสาตามหลักพุทธธรรม และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาปัจจัยส่งเสริมจิตอาสาตามหลักพุทธธรรม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการวิจัยโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกมี 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มพระสังฆาธิการที่ทำงานด้านสาธารณสงเคราะห์ 2) กลุ่มจิตอาสาอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ 3) กลุ่มจิตอาสาอำเภอหล่มสัก และ 4) กลุ่มชมรมจิตอาสาอำเภอหล่มเก่า จำนวน 20 รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการพัฒนาปัจจัยส่งเสริมจิตอาสา ในสังคมไทยปัจจุบัน มีการพัฒนาปัจจัยส่งเสริมจิตอาสา 6 ด้าน คือ ตนเอง ครอบครัว โรงเรียน เพื่อน สังคม/ชุมชน และสื่อสาร มวลชน 2) การพัฒนาการพัฒนาปัจจัยส่งเสริมจิตอาสาตามหลักพุทธธรรม พบว่า สำหรับปัจจัยส่งเสริมจิตอาสา ควรมีการปลูกฝังให้ตระหนักถึงความสำคัญของจิตอาสาตั้งแต่เด็ก เตรียมความพร้อมทางร่างกายและจิตใจ เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และมีความรู้ความชำนาญในการสื่อสาร ซึ่งอนุวัตตามหลักพุทธธรรม คือ ภาวนา 4 ได้แก่ กายภาวนา ศีลภาวนา จิตภาวนา และปัญญาภาวนา และ 3) แนวทางการพัฒนาปัจจัยส่งเสริมจิตอาสาตามหลักพุทธธรรม พบว่า แนวทางการพัฒนา ควรเริ่มจากการสร้างศรัทธา ปลุกจิตสำนึกในเรื่องของการให้ การเสียสละ อุทิศตนเป็นผู้รับใช้เพื่อนมนุษย์ ส่วนวิธีการนำไปใช้ สามารถทำได้ในรูปแบบของการจัดอบรบหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการทำงานจิตอาสา หรือการให้ความรู้ ความเข้าใจในลักษณะการทำงานจิตอาสาอย่างลึกซึ้ง สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2551). สอนเด็กให้มีจิตสาธารณะ. กรุงเทพฯ : วี พริ้นท์ 1991.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2552). เครื่องวัดความเจริญของชาวพุทธ (อารยวัฑฒิ). กรุงเทพฯ : มูลนิธิพุทธธรรม.
พระไพศาล วิสาโล. (2548). เติมเต็มชีวิตด้วยจิตอาสา เมื่อดอกไม้บานสะพรั่งทั้งแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
พุทธทาสภิกขุ. (2542). พุทธทาสลิขิต 2. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และสังคม สัญจร. (2543). สำนึกไทยที่พึงปรารถนา. กรุงเทพฯ : มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย.
สรณีย์ สายศร. (2557). การบูรณาการหลักการทางพระพุทธศาสนาในการทำงานจิตอาสา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.