บทบาทพระสงฆ์ในการสงเคราะห์ผู้ประสบอุทกภัยเชิงพุทธบูรณาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทบาทพระสงฆ์ในการสงเคราะห์ผู้ประสบอุทกภัยเชิงพุทธบูรณาการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 กลุ่มรวมจำนวน 25 รูป/คน สนทนากลุ่มเฉพาะ 9 รูป/คน วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาอธิบาย บทบาทพระสงฆ์ในการสงเคราะห์ประชาชนผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ ผลการวิจัย พบว่า มีความเข้าใจซึ่งกันและกันไม่เลือกปฏิบัติที่จะให้การช่วยเหลือ ให้ความสำคัญกับทุกชีวิตที่ได้รับผลกระทบให้ด้วยความเต็มใจ ควรมีการประชาสัมพันธ์ชี้แจงในการให้ความช่วยเหลืออย่างถูกต้องเพื่อความเสมอภาคกับทุกคนที่ได้รับความเดือดร้อน เป็นกระบอกเสียงในการประชาสัมพันธ์ชี้แจงให้ชาวบ้านสามัคคีกันเสียสละช่วยเหลือกันไม่ถือโอกาสเอารัดเอาเปรียบกันยามทุกข์ยาก นำเสนอหลักสังคหวัตถุมาใช้เพื่อให้สงเคราะห์ซึ่งกันละกันอย่างผาสุก บทบาทพระสงฆ์กับองค์การบริหารส่วนตำบลในการสงเคราะห์ผู้ประสบอุทกภัย การเข้าไปมีส่วนร่วมกับองค์กรท้องถิ่นนั้นสำคัญมากในการที่จะได้ช่วยเหลือได้มาก รวมทั้งการสงเคราะห์ติดต่อสื่อสารประสานงาน หาข้อมูลที่ชัดเจนของประชากรที่ได้รับผมกระทบ และค่อยให้ความร่วมมือกันในการสงเคราะห์ไม่ควรทำไปคนละทาง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กันยารัตน์ รินศรี.(2556). การจัดการทรัพยากรน้ำเชิงบูรณาการแนวพุทธ : กรณีศึกษากลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธีรพันธุ์ ฐิตธมฺโม (บุญบาง), พระศรีสมโพธิ และศิริโรจน์ นามเสนา. (2565). ศึกษางานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ที่มีต่อการพัฒนาสังคม. วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 25–34.
พระใบฎีกาพงษ์ศักดิ์ ขนฺติโก และคณะ. (2560). กลยุทธ์การบริหารจัดการด้านสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : วิทยาลัยสงฆ์พุทธโสธร.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุกาญจน์ รัตนเลิศนุสรณ์. (2550). หลักการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น.
Denzin, N. K. & Yvonne, S. L. (2002). Handbook of Qualitative Research. Thousand Oaks, Calif : Sage Publications.